ProtonVPN
ProtonVPN อยู่ในวงการสักพักใหญ่ ๆ แล้วแถมบริษัทยังมีบริการอีเมลที่ปลอดภัยมากด้วย คุณภาพและฟีเจอร์ที่คุณจะเจอที่นี่มีทั้งที่โดนและไม่ค่อยโดนซึ่งก็ไม่ได้เลวร้ายไปทั้งหมด เพียงแต่คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า มันตอบโจทย์สิ่งที่คุณต้องการได้ก่อนที่คุณจะสมัครแพ็กเกจระยะยาว เรียนรู้เพิ่มเติม
รีวิว ProtonVPN: ข้อดี 9 ข้อและข้อเสีย 6 ข้อของ ProtonVPN
ProtonVPN Black Friday Sale 2023 - สด
รับส่วนลด 86% สำหรับแผน 2 ปี ProtonVPN โดยมี 3 เดือนพิเศษรวมฟรี ดูข้อเสนอ
ProtonVPN ไม่ใช่ผู้ให้บริการเครือข่ายเสมือนส่วนบุคคล (VPN) ที่คนกล่าวขานถึงมากที่สุด จริงๆแล้ว บริษัทเริ่มต้นธุรกิจจากการให้บริการอีเมลที่ปลอดภัยในปี 2014
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซี่งมีส่วนช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้เพราะประเทศนี้มีกฎหมายความเป็นส่วนตัวที่เข้มงวดมาก
สารบัญ
ข้อดีของ ProtonVPN
- อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- การเข้ารหัสรัดกุมและโปรโตคอลเยี่ยม
- ไม่มีการรั่วไหล, ไม่มีการบันทึกการใช้งาน
- เซิร์ฟเวอร์หลักที่ปลอดภัย
- ความเร็วที่ยอมรับได้
- ปัจจุบันสามารถใช้งานได้ใน 41 ประเทศ
- สตรีม Netflix และ BBC iPlayer
- รองรับเบราว์เซอร์ Tor และ P2P
- ระดับราคา
ข้อเสียของ ProtonVPN
- เซิร์ฟเวอร์ในภูมิภาคเอเชียมีจำกัด
- มีแนวโน้มที่จะถูกบล็อก
- ลูกเล่นทางการตลาดมากไปหน่อย
- ใช้งาน P2P ได้จำกัด
- ช่วยเหลือดูแลลูกค้าผ่านทางอีเมลเท่านั้น
- การตั้งค่าอาจจะทำได้ยาก
ข้อสรุป
เราถูกใจ ProtonVPN ตรงไหน
1. อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์เป็นที่ตั้งของเทือกเขาแอลป์ มีช็อกโกแลตนมชั้นเยี่ยม มีดพับสวิสอันโด่งดังและอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ สวิตเซอร์แลนด์ยังมีชื่อเสียงด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัวที่เข้มข้นที่สุดประเทศหนึ่ง โดยสิทธิความเป็นส่วนตัวได้รับการรับรองตาม รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐสวิส (มาตรา 13):
“ทุกคนมีสิทธิสำหรับความเป็นส่วนตัวทั้งในชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัวและภายในบ้านของตัวเอง รวมถึงสิทธิที่เกี่ยวข้องกับจดหมายและการสื่อสารโทรคมนาคม”
ปัจจัยนี้ส่งผลให้สวิตเซอร์แลนด์เหมาะมากสำหรับการตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่เน้นให้บริการด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย และ ProtonVPN เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีฐานปฏิบัติการที่ปลอดภัยในนครเจนีวา
2. การเข้ารหัสที่รัดกุมและโปรโตคอลหลากหลาย
การเข้ารหัสเป็นหนึ่งในเครื่องหมายรับรองคุณภาพของผู้ให้บริการ VPN เนื่องจากหัวใจของธุรกิจหนีไม่พ้นเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ผู้ให้บริการต่างใช้โปรโตคอลที่หลากหลายและระดับการเข้ารหัสที่แตกต่างกัน ผู้ให้บริการ VPN บางรายอนุญาตให้ผู้ใช้เลือกระดับของการเข้ารหัสที่ต้องการ แต่ ProtonVPN ตัดสินเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น
ค่ายนี้เสนอโปรโตคอลที่ดีที่สุดสำหรับอุปกรณ์ที่คุณกำลังใช้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชั่นบน Windows จะรองรับ OpenVPN เท่านั้น (ทั้ง TCP และ UDP) ในขณะที่คุณสามารถใช้ IKEv2 สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่เท่านั้น การเข้ารหัสถูกตั้งค่าไว้ในระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั่นคือ AES-256
การแลกเปลี่ยนคีย์จะดำเนินการผ่าน RSA 4096 บิต ในขณะที่การยืนยันตัวบุคคลจะดำเนินการผ่าน HMAC ควบคู่กับ SHA384 เรียกได้ว่าปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้สำหรับการใช้แบบส่วนตัว
อย่าลืมว่า การตั้งค่าเหล่านี้แม้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาความปลอดภัย แต่อาจจะไม่ได้ดีที่สุดสำหรับทุกคน คนใช้ VPN ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันและโปรโตคอล/การเข้ารหัสเป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถใช้เพื่อปรับประสิทธิภาพในบางด้าน
ตัวอย่างเช่น ถ้าผมแค่ต้องการใช้ VPN เพื่อหลบหลีกการปิดกั้นทางภูมิศาสตร์ซึ่งไม่อนุญาตให้ผู้ใช้นอกภูมิภาคนั้น ๆ เข้าถึงเนื้อหา ผมอาจจะอยากได้ตัวเลือกที่ลดระดับการเข้ารหัสเพื่อบีบให้ได้ความเร็วมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ไม่มีการรั่วไหล ไม่มีการบันทึกการใช้งาน
ส่วนหนึ่งของการทดสอบของผมจะต้องมีการทดสอบการรั่วไหลขั้นพื้นฐานรวมอยู่ด้วยเสมอ เช่น การรั่วไหลของ DNS และการรั่วไหลของ WebRTC เราพบว่า ProtonVPN ปลอดภัยตามที่กล่าวอ้างและไม่พบการรั่วไหลในระหว่างกระบวนการประเมินของผม นอกจากนี้ บริษัทยังมีนโยบายไม่บันทึกประวัติการใช้งานที่เข้มงวดอีกด้วย
ในขณะที่ผู้ให้บริการ VPN หลายรายระบุในทำนองเดียวกัน ProtonVPN ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งด้วยการจัดทำรายงานความโปร่งใส ซึ่งจะแสดงรายการคำขอข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานต่าง ๆ ของทางการ รวมถึงสิ่งที่ ทางบริษัทดำเนินการเกี่ยวข้องกับคำขอเหล่านั้น
แม้ว่าข้อมูลในรายงานจะดูพื้น ๆ และไม่ได้บอกอะไรเรามากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นข้อมูลเชิงบวก ทั้งนี้ ถึงที่สุดแล้ว ทุกบริษัทจำเป็นต้องหาจุดที่ลงตัวให้ได้ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ให้บริการ VPN เมื่อมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง
4. เซิร์ฟเวอร์หลักที่ปลอดภัย
ในความเป็นจริง แนวคิด ‘Secure Core’ โดย ProtonVPN เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการ VPN ส่วนใหญ่เรียกว่า ‘การเชื่อมต่อ VPN แบบซ้อนกันหลายชั้น’
นี่หมายความว่าการเชื่อมต่อของคุณจะถูกส่งผ่านชุดเซิร์ฟเวอร์ VPN เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวขึ้นไปอีก ในกรณีของ ProtonVPN นั้น ‘Secure Core’ ของทางบริษัทประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ในสามประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์และสวีเดน
หากคุณเปิดใช้งานตัวเลือก “Secure Core” ในไคลเอนต์ VPN การเชื่อมต่อของคุณจะถูกกำหนดเส้นทางผ่านหนึ่งในสามประเทศนี้ก่อนที่จะมุ่งหน้าไปยังประเทศที่คุณเลือกไว้เป็นที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์ VPN ของคุณ
5. ความเร็วที่ยอมรับได้
ความเร็วเป็นหนึ่งในประเด็นที่อ่อนไหวที่สุดเมื่อพูดถึงบริการ VPN และมักมีข้อโต้แย้งอย่างต่อเนื่องระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ โดยทั่วไปลูกค้าจะบ่นเกี่ยวกับ “ความช้า” ในขณะที่ผู้ให้บริการพยายามอธิบายว่าความเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
เพื่อวัตถุประสงค์ในการทดสอบ ผมต้องชี้แจงบางอย่างก่อนที่คุณจะยึดถือเอาตามแค่ผลที่เห็น อย่างแรกคืออุปกรณ์ที่คุณใช้งานมีความสำคัญ การเข้ารหัสใช้พลังมากในการประมวลผลและความสามารถของอุปกรณ์ของคุณอาจจะเป็นปัจจัยได้
อย่างที่สองคือ ระยะทางจากเซิร์ฟเวอร์ VPN ที่เลือก ยิ่งระยะทางห่างจากเซิร์ฟเวอร์ที่คุณเลือกมากเท่าไหร่ การเชื่อมต่อของคุณก็จะยิ่งช้าลงเท่านั้น (เรากำลังพูดถึงอัตราความหน่วงนั่นเอง) เมื่อรู้อย่างนั้นแล้ว ผมจึงทำการทดสอบจากเดสก์ท็อปในสถานที่จริง ๆ แห่งหนึ่งในมาเลเซีย
ความเร็วพื้นฐานของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของผม (ในทางทฤษฎี) คือ 500Mbs และเมื่อเชื่อมต่อภายในประเทศ ความเร็วได้เกือบเต็มพิกัด แน่นอนว่าความเร็วจะลดลงเมื่อผมเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ไกลออกไป
(ดูผลลัพธ์ความเร็วพื้นฐานฉบับเต็มได้ที่นี่)
การทดสอบความเร็วของ ProtonVPN – เซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกา
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
การทดสอบความเร็วของ ProtonVPN – เซิร์ฟเวอร์ในยุโรป (เยอรมนี)
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
การทดสอบความเร็วของ ProtonVPN – เซิร์ฟเวอร์ในแอฟริกา (แอฟริกาใต้)
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
การทดสอบความเร็วของ ProtonVPN – เซิร์ฟเวอร์ในเอเชีย (สิงคโปร์))
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
การทดสอบความเร็วของ ProtonVPN – เซิร์ฟเวอร์ในออสเตรเลีย
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
(ดูผลการทดสอบความเร็วฉบับเต็มได้ที่นี่)
อย่างที่คุณเห็น ความเร็วที่ ProtonVPN เสนอให้นั้นหลากหลาย ผมคิดว่าเนื่องจากค่ายนี้แสดงประสิทธิภาพความเร็วที่แข็งแกร่งมากในบางพื้นที่ซึ่งพวกเขาได้ทำการกระจายความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ไปตามความต้องการใช้งาน
ส่วนใหญ่พอที่จะสตรีมมิ่งวิดีโอคุณภาพสูงระดับ 4k ได้หากจำเป็น เวลาเดียวที่คุณอาจจะสังเกตเห็นว่า คุณกำลังเปิดใช้ VPN คือเวลาที่คุณพยายามดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพิ่มอีกเล็กน้อย
6. ใช้ได้ใน 41 ประเทศ
ProtonVPN ไม่ต่างจากผู้ให้บริการ VPN ดี ๆ รายอื่นในเรื่องเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วโลก โดยมีให้บริการอยู่ทั้งหมด 41 ประเทศพร้อมด้วยเซิร์ฟเวอร์กว่า 500 ตัว แม้ว่านั่นจะไม่ใช่จำนวนประเทศและเซิร์ฟเวอร์ที่มากที่สุดแต่ก็ยังเป็นจำนวนที่เหมาะสม
โครงสร้างพื้นฐาน (ทั้งฮาร์ดแวร์และแบนด์วิดธ์) เป็นการลงทุนที่สูงมาก ในฐานะผู้ใช้ ผมอดหวั่นใจไม่ได้กับผู้ให้บริการที่อ้างว่ามีเซิร์ฟเวอร์จำนวนมหาศาลแต่เสนอราคาค่าบริการต่ำสุด ๆ แม้ว่าบางรายสามารถทำได้ แต่ก็ไม่มากขนาดนั้น
7. สตรีม Netflix และ BBC IPlayer
โดยส่วนตัวแล้ว เหตุผลหลักอย่างหนึ่งของผมในการใช้ VPN คือ ผมต้องการเข้าถึงเนื้อหาของ Netflix ที่ดูได้เฉพาะในสหรัฐอเมริกา นี่เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับผม การใช้ ProtonVPN ทำให้ผมสามารถสตรีมเนื้อหา Netflix ในสหรัฐอเมริกาได้อย่างราบรื่นเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น สำหรับจุดนี้ผมจะให้ผ่าน
ขอบอกว่า เซิร์ฟเวอร์ ProtonVPN ไม่สามารถเชื่อมต่อกับ Netflix ได้ในบางกรณีเหมือนกัน แน่นอน ผมไม่สามารถทดสอบเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 500 กว่าตัวได้ แต่เซิร์ฟเวอร์ที่ผมใช้ยังทำงานได้ดีจนถึงตอนนี้
ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ต้องการรับชม iPlayer ของ BBC สบายใจได้เลยว่า ก็ใช้ได้เหมือนกัน
8. รองรับเบราว์เซอร์ Tor และ P2P
สำหรับคนที่หวาดระแวงสุด ๆ ถ้าการรักษาความปลอดภัยในการเชื่อมต่อของคุณด้วยบริการ VPN ยังไม่เป็นที่พอใจ คุณจะมีความสุขมากเลยที่ได้ทราบว่า เบราเซอร์ Tor ใช้งานกับมันได้ดี
แต่จำไว้ว่า ไม่ใช่เซิร์ฟเวอร์ทุกตัวของ ProtonVPN จะรองรับ Tor (คลิก ที่นี่ เพื่อค้นหาเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายและสิ่งที่เซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องทำได้)
นอกจากนี้ บริการ P2P ก็จำกัดเฉพาะบางเซิร์ฟเวอร์เช่นกัน
9. ระดับราคา
สิ่งหนึ่งที่ ProtonVPN ทำได้ดีกว่าคือ ให้ลูกค้ามีทางเลือกในสิ่งที่ต้องการจ่าย ผู้ใช้บางคนต้องการแค่บริการระดับพื้นฐานในราคาที่ถูกกว่าซึ่งคุณสามารถรับบริการดังกล่าวได้จาก ProtonVPN จริง ๆ แล้ว พวกเขามีแพ็กเกจฟรีเช่นเดียวกัน
แพ็กเกจฟรีมีข้อจำกัดอย่างมากทั้งในเรื่องความเร็วและที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์ แต่ไม่กวนใจผู้ใช้ด้วยแบนด์วิดธ์ที่จำกัด คุณยังสามารถเลือกระดับแพ็กเกจอื่น ๆ ที่ช่วยให้เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากขึ้น เพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับและฟีเจอร์มากกว่าเดิม
ถ้าพูดถึงบริการ VPN ผมจะบอกว่า แพ็กเกจระดับล่างของค่ายนี้ให้บริการกลุ่มลูกค้าที่ผู้ให้บริการไม่มากนักเต็มใจให้บริการ ส่วนแพ็กเกจระดับที่สูงขึ้นไปจะอยู่ในระดับที่เป็นมาตรฐานของวงการมากกว่า แต่อาจจะถือว่าราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการชั้นนำบางรายอย่าง Surfshark และ NordVPN
เราไม่ถูกใจ ProtonVPN ตรงไหน
1. เซิร์ฟเวอร์ในภูมิภาคเอเชียมีจำกัด
แม้ว่าเซิร์ฟเวอร์ของ ProtonVPN จะครอบคลุม 41 ประเทศ แต่ผมสังเกตเห็นว่าในภูมิภาคเอเชียมีเพียงไม่กี่แห่งที่ให้บริการ คุณจะสามารถใช้ในจุดสำคัญหลัก ๆ บางแห่งเท่านั้น เช่น สิงคโปร์และฮ่องกง แต่สำหรับคนที่ต้องการความช่วยเหลือทางเทคนิคในระดับที่เกี่ยวข้องกับประเทศนั้น ๆ ในภูมิภาคนี้ก็จะต้องผิดหวัง
แม้ว่าสิ่งนี้อาจจะเป็นที่ยอมรับได้สำหรับการใช้งานทั่วไป ลูกค้าที่อาจจะมีความต้องการเฉพาะ เข่น การเชื่อมต่อในพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ก็อาจจะโชคร้ายได้
2. มีแนวโน้มที่จะถูกบล็อก
ในระหว่างการทดสอบ ผมพบว่า ProtonVPN มีแนวโน้มที่จะถูกบล็อกโดยเว็บไซต์มากกว่า VPN ส่วนใหญ่ที่ผมได้ลอง สิ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นจากเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์จับสัญญาณได้ว่าเป็นการเชื่อมต่อ VPN หรือเซิร์ฟเวอร์ปิดกั้น VPN รายนี้อย่างเต็มพิกัดจนเกิดปัญหาบางอย่าง เช่น เกิดความผิดปกติกับ CSS จนส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ดูไม่ได้
น่าเสียดายที่ปัญหาที่ผมเจอไม่สามารถที่จะแก้ได้ แม้ว่าจะติดต่อฝ่ายสนับสนุนลูกค้าไปแล้วก็ตาม
แม้ผมจะรู้ว่า แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ให้บริการ VPN จะทำงานด้วยอัตราความสำเร็จ 100% แต่ปัญหาที่เกิดกับ ProtonVPN นั้นสังเกตได้ชัดเจนว่า เกิดกับผู้ให้บริการรายอื่นน้อยกว่ามากจากประสบการณ์ของผม
3. ลูกเล่นทางการตลอดมากไปหน่อย
ทุกบริษัทใช้กลยุทธ์การตลาดไม่รูปแบบใดก็รูปแบบหนึ่ง แต่เหตุผลที่ผมเพิ่มสิ่งนี้ลงไปในข้อเสียของ ProtonVPN ก็คือ กลยุทธ์ทางการตลาดของค่ายนี้อาจจะมีอิทธิพลต่อลูกค้าในเชิงลบได้ในทางใดทางหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น สถานที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ในระบบ “Secure Core” ซึ่งค่ายนี้ใช้เป็นจุดขายหลักอย่างหนึ่งในการโปรโมตบริการ โดยสถานที่ตั้งหลัก ๆ ประกอบไปด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์และสวีเดน แต่จริงๆแล้ว สวีเดนเป็นสมาชิกของชุมชนห้าตา
เรื่องนี้ทำให้ผมรู้สึกไม่สบายใจเล็กน้อยและทำให้ย้อนกลับไปคิดเกี่ยวกับคำพูดของ ProtonVPN ที่บอกว่าจะไม่บันทึกประวัติการใช้งาน รวมถึงได้ตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ทุกตัวไว้อย่างดีเพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีการบันทึกจริง ๆ
จุดขายอื่น ๆ อย่างเช่นเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ในอดีตฐานปฏิบัติการใต้ดินทางทหาร แม้ว่ามันจะน่าสนใจ แต่ก็ไม่มีผลอะไรนักต่อความเป็นส่วนตัวของคุณ
4. ใช้งาน P2P ได้จำกัด
ในฐานะที่เป็นแฟนตัวยงของ P2P ผมรู้สึกผิดหวังมากที่พบว่า เซิร์ฟเวอร์ ProtonVPN ทุกเครื่องรองรับการทอร์เรนต์หรือ torrenting จากไม่กี่ประเทศเท่านั้น คือ สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน สิงคโปร์และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งหมายความว่าหากคุณต้องการดู Netflix ที่จำกัดให้เฉพาะคนในสหรัฐอเมริกาและต้องทอร์เรนต์ไปด้วยในเวลาเดียวกัน คุณจะทำไม่ได้
ตัวเลือกเดียวของคุณคือ แบ่งช่องทางเครือข่ายซึ่งเหมือนกับการสร้างอุโมงค์รับส่งข้อมูลแยกต่างหากหรือ split tunneling และปิด VPN ในบิตทอร์เรนต์ในเครื่องของคุณ นี่อาจจะไม่ใช่ทางออกที่เป็นไปได้สำหรับผู้ใช้ในบางประเทศที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เข้มงวดมาก
5. ช่วยเหลือดูแลลูกค้าผ่านทางอีเมลเท่านั้น
เมื่อผมประสบกับปัญหาในการเข้าถึงเว็บไซต์ ผมต้องการขอความช่วยเหลือแต่กลับต้องพบว่า ProtonVPN ไม่มีบริการช่วยเหลือดูแลลูกค้าแบบพุดคุยกันได้ทันที ช่องทางการสนับสนุนหลักคือทางอีเมล แถมยังใช้เวลาสักพักใหญ่ ๆ ในการตอบกลับ
ทั้งนี้ กว่าจะตอบกลับอีเมลฉบับแรกของผมก็ใช้เวลา 24 ชั่วโมง (ไม่นับการตอบกลับอัตโนมัติ) และต่อจากนั้นการพูดคุยแต่ละครั้งต้องรอประมาณครึ่งวันหรือมากกว่านั้นกว่าจะตอบกลับ อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่สุด แต่คำตอบที่ได้ต่างหาก
คำตอบที่ผมได้รับจะออกแนวประมาณว่า “เรามีเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หากเครื่องใดเครื่องหนึ่งไม่ทำงานตามที่คุณต้องการ ให้ลองใช้ทีละเครื่องจนกว่าคุณจะโชคดี” คงไม่ต้องบอกนะครับว่า ผมโกรธจนเลือดขึ้นหน้าเลยทีเดียว
6. การตั้งค่าอาจจะทำได้ยาก
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการ VPN ส่วนใหญ่พยายามทำให้การใช้งานซอฟต์แวร์ที่ตัวเองมีให้บริการเป็นเรื่องง่ายที่สุด ธรรมชาติของบริการ VPN ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างมากสำหรับผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค
ProtonVPN มีอินเทอร์เฟสผู้ใช้แอปพลิเคชั่น Windows ที่เรียบง่ายแต่ดูดี จริง ๆ แล้วผมชอบแผนที่โลกที่มีสีเขียวสว่างกระจายอยู่บนแผนที่ซึ่งดุเจ๋งมากเลย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงการแยกอุโมงค์ ผมรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างแปลก ๆ การแยกอุโมงค์เป็นตัวเลือกที่ผู้ให้บริการหลายรายมีให้คุณเพื่อกันไม่ให้แอปพลิเคชั่นบางตัวหรือแม้แต่เว็บไซต์บางเว็บเข้ามาในอุโมงค์ VPN ได้ หากต้องการกันแอปไหนหรือเว็บไซต์ไหนออกไป ก็แค่เพิ่มแอปหรือ URL ของเว็บไซต์นั้นเข้าไปในแอปของ ProtonVPN
ด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบสาเหตุ การจะเพิ่มเว็บไซต์เข้าไปในแอป ProtonVPN เพื่อกันเว็บไซต์นั้นออกจากอุโมงค์ แยก คุณต้องค้นหาที่อยู่ IP ของเว็บไซต์นั้น ยกตัวอย่าง สมมติว่า คุณต้องการกัน google.com จากอุโมงค์ VPN แทนที่จะพิมพ์ชื่อโดเมนนั้น คุณจะต้องค้นหาที่อยู่ IP ของ Google (ซึ่งก็คือ 172.217.3.100)
เอาตรง ๆ คือ ผมรู้สึกว่า เป็นความขี้เกียจที่จะพัฒนา ซึ่งสำหรับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจมานานหลายปี มันเป็นอะไรที่ไม่มีคำแก้ตัว
ข้อสรุป: ProtonVPN คุ้มราคาหรือไม่
อย่างที่คุณเห็นว่า ProtonVPN มีข้อดีและข้อเสียเท่าที่ผมคิดได้ประมาณนี้ซึ่งก็ถือว่าพอสูสีกันอยู่ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดแล้ว ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้บริการ ตัวอย่างเช่น หากคุณสนใจเพียงแค่การเชื่อมต่อที่ปลอดภัยและการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ VPN ในบริเวณใกล้เคียงโดยไม่สนใจเรื่องอื่น ProtonVPN น่าจะเหมาะกับคุณ
หากคุณต้องการโซลูชันที่มีความยืดหยุ่นสูงซึ่งจะช่วยให้คุณทำหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน (ท่องเว็บ, torrent, สตรีมมิ่ง ฯลฯ) คุณอาจต้องค้นหาผู้ให้บริการรายอื่น หลัก ๆ แล้ว ProtonVPN นั้นใช้ได้ แต่ราคาสำหรับผู้ใช้แพ็กเกจ Plus (สำหรับการเข้าถึง Secure Core และเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากขึ้น)ที่ 248 บาทต่อเดือนนั้นค่อนข้างสูง
ส่วนมือใหม่สำหรับ VPN และผู้ใช้ที่ใช้งานน้อยโดยเฉพาะผู้ใช้ที่ใช้งานน้อยเป็นพิเศษจะไม่รู้สึกอะไรมากกับแพ็กเกจฟรีหรือแพ็กเกจ Basic
ฟีเจอร์หลัก
- ✓ ไม่มีการบันทึกการใช้งาน
- ✓ ฟังก์ชั่นสั่งปิดการใช้งานวีพีเอ็น
- ✓ เซิร์ฟเวอร์ในระบบ Secure Core
- ✓ รองรับ P2P และ Netflix
แนะนำสำหรับ
- • ความปลอดภัยสูงสุด
- • ผู้ที่ใช้หลายแพลตฟอร์ม
- • ผู้ใช้ในสหรัฐฯและสหภาพยุโรป
ProtonVPN
ความเร็ว
ดี
ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
การเปิดเผยโฆษณา