วิธีสร้างบล็อก – 5 ขั้นตอนการสร้างบล็อกง่าย ๆ ในปี 2023
คนอายุน้อยเจ๋ง ๆ ที่คุณรู้จักชื่อล้วนทำบล็อก เขียนบล็อก และสร้างรายได้จากมันค่อนข้างดีเลยทีเดียว ทำไมคุณไม่ลองทำดูบ้าง ลองทำบล็อกและนั่งรอเงินเข้าสบาย ๆ
จะว่าไป หากคุณเข้ามายังหน้านี้และกำลังอ่านบทความนี้อยู่ล่ะก็ คุณน่าจะยังไม่รู้วิธีการสร้างบล็อกสิน่ะ
เอาน่า คุณยังโชคดีอยู่ดีอยู่นะเพราะเราได้สละเวลาจากงานที่แสนยุ่งมานั่งเขียนแนวทางการทำบล็อก เพื่อที่คุณจะได้มีบล็อกเป็นของตัวเองและเปิดใช้งานบล็อกได้ในชั่วพริบตา !
เชื่อไหมว่า การสร้างบล็อกนั้นไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยและไม่ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคอะไรมากมายด้วย เราจะเป็นพี่เลี้ยงให้คุณเองในเรื่องของเทคนิค คุณจะได้รู้สึกสบายใจและมั่นใจมากยิ่งขึ้น
สารบัญ
วิธีการสร้างบล็อก
สรุป
บล็อกคืออะไร
มาคุยกันเรื่องที่ว่า บล็อกคืออะไรกันแน่
จริง ๆ แล้ว บล็อกก็คือเว็บไซต์อย่างหนึ่งที่มุ่งเน้นไปทางด้านการเขียนเนื้อหา ซึ่งปกติจะเป็นการเขียนในสไตล์ที่ไม่เป็นทางการนัก
ในตอนแรก ๆ ที่การทำบล็อกเริ่มเป็นที่รู้จัก ผู้คนส่วนใหญ่จะใช้บล็อกกันเพื่อเขียนบันทึกประจำวันทางออนไลน์ ทั้งนี้ก็เป็นการแบ่งปันบันทึกของพวกเขาให้คนทั้งโลกได้อ่าน
ปัจจุบันนี้โลกของบล็อกได้พัฒนาก้าวไกลไปมากขึ้น โดยบล็อกจะเต็มไปด้วยหัวข้อย่อยต่าง ๆ มากมาย เช่น บล็อกเกอร์ด้านฟิตเนส บล็อกเกอร์ถ่ายภาพ บล็อกเกอร์คุณแม่… ไม่ว่าคุณจะนึกถึงเรื่องอะไรก็ดูเหมือนจะมีบล็อกเกี่ยวกับเรื่องนั้นไปหมดเสียแล้ว
ทำไมผู้คนถึงเริ่มทำบล็อกกัน
ผู้คนมีแรงจูงใจหลายอย่างแตกต่างกันไปในการเริ่มทำบล็อกของตัวเอง
บางคนอยากฝึกทักษะการเขียนของตัวเอง บางคนรู้สึกเหมือนได้ระบายเมื่อพวกเขาได้แสดงความรู้สึกผ่านทางโลกออนไลน์ บางคนก็แค่หลงใหลในหัวข้อที่พวกเขาเลือกเพียงเท่านั้น
ผมคงพูดแทนพวกเขาทุกคนไม่ได้ แต่แรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาในโลกแห่งการทำบล็อกอันแสนงดงามนี้ก็คือ การทำเงินจากบล็อกนั่นเอง
ด้วยความที่บล็อกเกอร์เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัว บล็อกเกอร์กับผู้อ่านจึงเกิดความรู้สึกเชื่อมโยงถึงกันในลักษณะที่เป็นส่วนตัวไปด้วย ซึ่งการสื่อถึงกันแบบนี้นี่เองที่ทำให้แบรนด์ดัง ๆ ยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินให้บล็อกเกอร์เขียนถึงผลิตภัณฑ์ของพวกเขา (แน่นอนว่าบล็อกเกอร์คนนั้น ๆ จะต้องมียอดผู้ติดตามมากพอสมควรทีเดียว)
ไม่ว่าคุณจะอยากลุกขึ้นมาสร้างบล็อกด้วยแรงจูงใจแบบไหนก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือว่า การทำบล็อกเป็นงานอดิเรกที่แสนวิเศษ และหากคุณทำได้ถูกทางล่ะก็ คุณจะหาเงินเลี้ยงตัวเองได้จากการทำบล็อกเลยทีเดียว
หมายเหตุ
ดูเหมือนหลายคนจะมีความเข้าใจผิดว่า จะต้องเป็นนักเขียนที่ดีจึงจะสามารถทำบล็อกได้ ขณะที่ทักษะการเขียนที่ดีช่วยให้บล็อกของคุณดูมีความเป็นมืออาชีพก็จริง แต่จุดขายจริง ๆ อยู่ที่เนื้อหาต่างหาก คุณสามารถกลับมาปรับปรุงบล็อกโพสต์ได้ตลอดเวลา หากคุณต้องการพัฒนาฝีมือการเขียนของคุณ ลองดูที่นี่ แนวทางการเขียนคอนเทนต์
วิธีสร้างบล็อก – 5 ขั้นตอนการสร้างบล็อกง่าย ๆ
ขั้นตอนที่ 1 เลือกกลุ่มเป้าหมาย
นี่เป็นก้าวแรกอันน่าตื่นเต้นสำหรับการเริ่มต้นทำบล็อกและจะเป็นตัวกำหนดแนวทางการทำบล็อกของคุณไปตลอด ดังนั้น ขั้นตอนนี้ถือว่าง่ายแต่สำคัญมาก: คุณต้องเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
คุณจะเป็นบล็อกเกอร์นักถ่ายภาพหรือเปล่า หรือว่าชอบทำบล็อกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของตัวเองมากกว่า หรือคุณอาจจะชอบเรื่องเทคโนโลยี อืม หรือคุณชอบอาหารเป็นที่สุด
ไม่ว่าคุณจะหลงใหลหรือสนใจอะไรก็ตาม กลุ่มเป้าหมายที่คุณเลือกจะเป็นตัวหล่อหลอมเส้นทางของ หัวเรื่องในการทำบล็อกที่คุณไปตลอด นี่ไม่ใช่กฎเหล็กก็จริง (บล็อกเกอร์บางคนสลับฉากไปเขียนเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากหัวข้อที่ตัวเองเลือกเป็นประจำ แต่ก็ยังประสบความสำเร็จอย่างมาก) แต่มันเป็นแนวทางที่จะช่วยให้บล็อกของคุณมีเนื้อหาชัดเจนและไม่ออกนอกเรื่อง
ดังนั้น จงเลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ตั้งชื่อบล็อกให้สอดรับกัน เอาแบบง่าย ๆ และสั้น ๆ
ขั้นตอนที่ 2 เลือกแพลตฟอร์มทำบล็อก
มีแพลตฟอร์มทำบล็อกฟรีให้คุณเลือกใช้มากมาย เช่น Wix, Blogger, Tumblr, และ WordPress
แพลตฟอร์มที่เราเลือกก็คือ WordPress เพราะมันเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มการทำบล็อกที่ทรงพลังมากที่สุดเท่าที่มี ถูกใช้ในการสร้างสรรค์เว็บไซต์ถึง 33.9 % ของเว็บไซต์ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้
แพลตฟอร์มนี้ยังง่ายต่อการทำ SEO ใช้งานง่ายและมีปลั๊กอินให้ใช้มากมาย ซึ่งจะช่วยให้คุณใช้ลูกเล่นฟังก์ชันพิเศษต่าง ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องทางเทคนิคอะไรมากมาย
คุณยังสามารถรับเว็บโฮสติ้งและชื่อโดเมนได้ฟรีโดยตรงจาก WordPress.com ด้วย แต่อย่างไรเสีย ยายของผมเคยพูดไว้ว่า “ของดี ๆ ไม่มีราคาถูก ของราคาถูกไม่ใช่ของดี”
ขั้นตอนที่ 3 การหาชื่อโดเมนและเว็บโฮสติ้ง
เพื่อเป็นการขยายความจากที่ผมพูดไว้ก่อนหน้า WordPress.com เป็นแพลตฟอร์มที่สุดยอดมากก็จริง แต่เว็บโฮสติ้งและชื่อโดเมนของแพลตฟอร์มนี้กลับมาพร้อมข้อจำกัดมากมาย
- คุณไม่มีชื่อโดเมนของตัวเอง
แม้จะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่ชื่อโดเมนก็เป็นสิ่งที่แยกความแตกต่างระหว่างมือสมัครเล่นและมือโปรเหมือนกัน หากคุณจริงจังกับการทำบล็อกและต้องการเห็นมันเติบโตขึ้นล่ะก็ คุณควรต้องใช้ชื่อโดเมนเป็นของตัวเอง - ข้อจำกัดเว็บไโฮสติ้ง
WordPress.com แบบใช้งานฟรีมาพร้อมพื้นที่เว็บโฮสติ้งน้อยมาก (แค่ 3GB) เมื่อคุณใช้พื้นที่ฟรีหมดแล้ว คุณจะต้องจ่ายเงินเพื่ออัปเกรดพื้นที่เพื่อให้คุณสามารถใช้บล็อกต่อไปได้ - ไม่อนุญาตให้ใช้ปลั๊กอิน
คุณจะไม่สามารถใช้ปลั๊กอินในเวอร์ชันฟรีได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เศร้าและน่าเจ็บปวดใจมาก - โฆษณาเต็มไปหมด
การที่คุณไม่สามารถสร้างรายได้จากเว็บไซต์ WordPress.com ที่ใช้งานฟรีก็ถือว่าแย่แล้ว แต่กลับส่งโฆษณามาให้คุณมากมายอีกต่างหาก ! จำไว้อย่างหนึ่ง “ของดี ๆ ไม่มีราคาถูก ของราคาถูกไม่ใช่ของดี” การส่งโฆษณามาล่อใจเป็นหนทางหนึ่งที่ WordPress ใช้สร้างรายได้ - บล็อกของคุณอาจถูกลบออกไปได้
คุณจะรู้สึกอย่างไรหากบล็อกที่คุณคอยประคบประหงมและสร้างยอดผู้ติดตามมานานแรมปีดันมาถูกลบออกไปเพียงเพราะคุณเผลอไปทำผิดเงื่อนไขการใช้บริการของ WordPress ที่มีเยอะมากจนตาลาย มันเคยเกิดขึ้นมาแล้วและจะเกิดขึ้นอีก ผมเองขอไม่รับความเสี่ยงแบบนี้แน่นอน
ปัญหาที่เราพอจะคิดออกก็มีประมาณนี้ คุณสามารถซื้อชื่อโดเมนและเว็บโฮสติ้งแยกต่างหาก เพื่อที่จะได้ไม่เจอกับปัญหาเหล่านี้ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำวิธีการทำให้สำเร็จอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ชื่อโดเมน
บริการให้ลงทะเบียนชื่อโดเมนนั้นมีอยู่มากมาย เช่น GoDaddy และ Namecheap แต่เรากลับชอบ Namecheap เพราะบริการของค่ายนี้ถือว่าดีเยี่ยม แถมมีบริการ WhoisGuard ฟรีอีกด้วย บริการนี้จะช่วยปกปิดตัวตนของคุณ ในกรณีที่คุณต้องการทำบล็อกแบบไม่เปิดเผยตัวตน
ขั้นตอนการลงทะเบียนก็ถือว่าง่ายตรงไปตรงมา เพียงไปที่เว็บไซต์ ลงทะเบียน เลือกชื่อโดเมน แค่นี้ก็เสร็จแล้ว!
จำไว้ว่า คุณควรจะเลือกชื่อโดเมนที่เรียบง่ายและจำง่าย พยายามเลือกชื่อที่ฟังแล้วติดหูหากทำได้ อย่าใช้สกุลเว็บแปลก ๆ เช่น “.io” or “.biz” แต่ให้ใช้ “.com” เพราะคนส่วนมากคุ้นเคยกับสกุลนี้
เว็บโฮสติ้ง
คุณอาจจะคิดว่า เว็บโฮสติ้งเป็นเพียงแค่พื้นที่ที่ให้คุณจัดเก็บไฟล์เว็บไซต์ และจะใช้ผู้บริการเว็บโฮสติ้งรายไหนก็ได้ อยากบอกว่าคุณคิดผิดมหันต์ ที่จริงแแล้ว หากคุณต้องการให้บล็อกประสบความสำเร็จ คุณควรต้องมั่นใจจริง ๆ ว่าบริการเว็บโฮสติ้งที่ใช้นั้นไว้ใจได้และ รวดเร็ว
คุณเคยเข้าไปในเว็บที่โหลดช้ามาก ๆ จนคุณเองก็รอมันโหลดเสร็จไม่ไหวหรือเปล่า หากคุณจับเวลาดูเอง จะเห็นว่าเวลาโหลดเพียง 3 วินาทีก็พอที่จะทำให้คุณรู้สึกได้แล้วว่าบล็อกนั้นโหลดช้า และคนมักจะถอดใจออกจากเว็บไปก่อนที่่จะโหลดเสร็จหากการโหลดใช้เวลานานถึง 5 วินาทีโดยเฉลี่ย
ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งจะต้องรับประกันได้ว่า บล็อกของคุณจะโหลดได้อย่างฉับไวเพื่อไม่ให้คุณต้องเสียผู้อ่านไปเพราะเวลาการโหลดที่ช้าอย่างไม่จำเป็น
ในขณะที่บริการเว็บโฮสติ้งมีอยู่มากมายทั่วไปหมด (คลิกที่นี่ เพื่อดูรายชื่อเว็บโฮสต์อันดับต้น ๆ) แต่เราขอแนะนำให้ดูแบรนด์เว็บโฮสต์ที่เป็นสากลและเชื่อถือได้อย่าง Hostinger สำหรับบล็อกของคุณ
แน่นอน อาจจะมีตัวเลือกอื่นที่ราคาถูกกว่า แต่ช่วงเวลาให้บริการของ Hostinger ฝ่ายบริการลูกค้าที่ไว้ใจได้ สิทธิประโยชน์ที่หลากหลายและเวลาการตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ที่เร็วสุดขีดถือว่าคุ้มสุด
วิธีสมัครแผนโฮสติ้งกับ Hostinger
การสร้างบัญชีและตั้งค่าบล็อกของคุณกับ Hostinger นั้นง่ายมาก นี่คือสิ่งที่คุณต้องทำ:
- ไปที่ Hostinger.in.th และคลิกเข้าสู่แผนบริการโฮสติ้งของพวกเขา
- เลือกแผน เราขอแนะนำให้ใช้แผนโฮสติ้งที่ใช้ร่วมกันแบบพรีเมียม (59 บาท/เดือน) เนื่องจากราคาและผลประโยชน์สมเหตุสมผลดี คุณไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเลือกนานเกินไป คุณสามารถอัปเกรดหรือดาวน์เกรดแผนของคุณในภายหลังได้หากต้องการ
- เมื่อคุณเลือกแผนแล้ว คุณจะต้องดำเนินการขั้นตอนการชำระเงินให้เสร็จสิ้น > สร้างบัญชี > กรอกข้อมูลการชำระเงินของคุณ > ตรวจสอบคำสั่งซื้อของคุณ > จากนั้นคลิก “ส่งการชำระเงินที่ปลอดภัย” จากนั้นคุณจะได้รับใบเสร็จรับเงินจาก Hostinger พร้อมรายละเอียดทั้งหมดสำหรับการสมัครสมาชิกเว็บโฮสติ้งของคุณ
- คุณจะถูกพาไปที่หน้าการเริ่มต้นใช้งาน Hostinger โดยอัตโนมัติ ในการเริ่มตั้งค่าเว็บไซต์ของคุณ – กด “เริ่มเลย” และทำตาม
- คุณจะได้รับแจ้งให้ “ตั้งชื่อเว็บไซต์ของคุณ” คุณจะต้องเลือก 1 จาก 2 ตัวเลือก:
- หากคุณมีชื่อโดเมนอยู่แล้ว – คลิก “เลือก” ใต้ “ใช้โดเมนที่มีอยู่” คุณจะต้องชี้โดเมนของคุณไปที่ Hostinger แค่ทำตามคำแนะนำใน วิดีโอสอนของ Hostinger บน YouTube นี้
- หากคุณยังไม่มีชื่อโดเมน – คุณสามารถซื้อผ่าน Hostinger ได้โดยคลิก “เลือก” ใต้ “ซื้อโดเมน” พิมพ์ชื่อบล็อกของคุณและ Hostinger จะใช้เวลาสักครู่เพื่อตรวจสอบความพร้อมใช้งาน หากพร้อมใช้งาน ให้ดำเนินการต่อโดยคลิก “ดำเนินการต่อ”
โว้ว! ตอนนี้คุณมีบัญชีเว็บโฮสติ้งและชื่อโดเมนเรียบร้อยแล้ว!
ได้เวลาเชื่อมต่อกับ WordPress แล้ว นี่คือจุดที่บล็อกของคุณจะเริ่มดูเหมือนเป็นบล็อกแล้ว
การติดตั้ง WordPress บน Hostinger
ส่วนนี้เป็นภาคต่อของส่วนก่อนหน้านี้ แต่เรากำลังแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
หมายเหตุ
หากคุณติดขัดในระหว่างขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเหล่านี้ อย่าลังเลที่จะติดต่อฝ่ายสนับสนุนการแชทสดของ Hostinger มีประโยชน์อย่างยิ่งและจะแนะนำคุณตลอดทุกสิ่งที่คุณต้องการความช่วยเหลือ
- คุณสามารถเลือกระหว่าง “สร้างเว็บไซต์ใหม่” หรือ “ย้ายเว็บไซต์ของฉัน” หากคุณได้ปฏิบัติตามคู่มือนี้แล้ว คุณควรเลือกตัวเลือกแรก
- ระบบจะถามคุณว่าคุณต้องการสร้างด้วย Zyro หรือ WordPress หากคุณต้องการใช้ในระยะยาว เราขอแนะนำให้สร้างเว็บไซต์ของคุณด้วย WordPress
- สร้างบัญชี WordPress ของคุณด้วยอีเมลและรหัสผ่าน คุณจะใช้รายละเอียดเหล่านี้เพื่อเข้าสู่แดชบอร์ด WordPress ของคุณในภายหลัง เพื่อไม่ให้สูญหาย!
- ถัดไป Hostinger จะขอให้คุณเลือกธีมสำหรับไซต์ WordPress ของคุณ คุณสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปก่อนได้ เราจะพูดถึงรายละเอียดในภายหลัง
- เกือบเสร็จแล้ว Hostinger จะให้คุณตรวจสอบข้อมูลการตั้งค่าเว็บไซต์ของคุณได้แล้ว ตรวจสอบอย่างรอบคอบว่าชื่อโดเมนและอีเมลของผู้ดูแลระบบของเว็บไซต์ของคุณถูกต้องหรือไม่
- สังเกตว่าคุณสามารถแก้ไข “ตำแหน่งเว็บไซต์” ของคุณได้อย่างไร? คุณควรเปลี่ยนตำแหน่งศูนย์ข้อมูลของเว็บไซต์ให้อยู่ใกล้กับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด สิ่งนี้จะให้ผู้ชมเป้าหมายของคุณได้รับประสบการณ์ที่ดีเมื่อพวกเขาเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ
- หลังจากตรวจสอบเสร็จแล้ว ให้กด “Finish Setup”
ตอนนี้คุณได้สร้างบล็อก WordPress และเปิดใช้งานมันแล้ว คุณควรภูมิใจในตัวเองนะ มันดูสวย สะอาด เรียบง่ายและดูเหมือนเว็บที่เห็นกันทั่วไปด้วย หากยืมคำหมู่วัยรุ่นมาใช้ คงต้องบอกว่า เว็บไซต์ของคุณตอนนี้ดู “ดีแต่ไม่ปัง” ฉะนั้น เรามาทำอะไรให้มันแจ๋วกว่านี้ดีกว่า
ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบบล็อกของคุณ
ในส่วนนี้เราจะมาดูกันในเรื่องของการทำให้บล็อกของคุณดูมีเอกลักษณ์มากขึ้นอีกสักหน่อย
เราสามารถออกแบบและกำหนดค่าต่าง ๆ เองเพื่อให้บล็อกดึงดูดกลุ่มเป้าหมายของคุณ แต่มันจะต้องใช้เวลานานมาก เอาจริง ๆ นะ คุณคิดว่ามันใช่แนวทางสำหรับโลกยุค 4.0 อย่างในปัจจุบันหรือเปล่า
แต่โชคดีที่ WordPress มีธีมฟรีให้ใช้หลายพันธีมซึ่งธีมเหล่านี้สามารถนำมากำหนดค่าต่าง ๆ เองได้ และแต่ละธีมก็ดูเป็นมืออาชีพมากจริง ๆ อีกด้วย !
นี่คือวิธีที่คุณจะเข้าไปใช้ธีม WordPress ได้
- ลงชื่อเข้าใช้บัญชี WordPress ซึ่งควรจะเป็น “www.ชื่อเว็บของคุณ.com/wp-admin” กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน WordPress ของคุณแล้วจึงเข้าสู่ระบบ
- เมื่อคุณเข้าใช้งานแล้ว คุณจะได้เห็นแดชบอร์ดของ WordPress ซึ่งมีหน้าตาแบบนี้และคลิกที่ “เปลี่ยนธีมอย่างสมบูรณ์”
- ต่อไปให้คลิกที่ WordPress.org themes และคุณจะได้พบกับธีมหลายพันธีมให้เลือก! หากธีมที่มีให้เลือกยังไม่ถูกใจ ให้คุณไปยัง ElegantTheme เพื่อเข้าซื้อธีมสวยล้ำทั้งหลาย
สำคัญ
ธีมเป็นอะไรที่เจ๋งมากแต่ธีมอาจนำพาความยุ่งยากมาได้ ความเร็วการโหลดเว็บไซต์ เป็นสิ่งสำคัญมากในการส่งให้บล็อกของคุณแสดงผลอยู่ในอันดับต้น ๆ เมื่อมีการค้นหาข้อมูลผ่าน Google และการเลือกธีมที่ไม่ได้ผ่านการปรับแต่งหรือธีมที่มีการตอบสนองไม่ดีจะส่งผลกระทบต่อความเร็วการโหลดหน้าของคุณได้ ขอให้คุณตรวจดูก่อนว่ามีเสียงวิจารณ์เชิงทางลบบ้างหรือไม่ในส่วนที่เปิดให้แสดงความคิดเห็น และทดสอบการตอบสนองของธีมนั้น ๆ ในตัวอย่างการใช้เสียก่อน หากธีมนั้น ๆ ไม่มีการตอบสนองในหน้าตัวอย่างธีมเสียแล้ว ก็มีแนวโน้มว่ามันจะพาบล็อกของคุณเฉี่อยไปด้วย
- เมื่อคุณเลือกธีมได้แล้ว ให้คลิกที่ “Live Preview หรือดูตัวอย่างสด” ตามด้วย “Activate & Publish หรือใช้งาน & เผยแพร่” เพื่อติดตั้งธีมของคุณ
ตอนนี้คุณได้ติดตั้งธีมแล้ว แต่คุณยังต้องทำให้มันดูเป็นแบบฉบับของคุณและใส่เนื้อหาเพิ่มเติมลงไป ไม่เช่นนั้นบล็อกของคุณจะดูว่างเปล่า
การเพิ่มเพจไปยังบล็อกของคุณ
บล็อกใหม่แกะกล่องของคุณจะว่างเปล่ามากหากคุณไม่ใส่เนื้อหา อย่างน้อยที่สุด ก็ต้องใส่หน้า “เกี่ยวกับเรา” ลงไปเพื่อแจ้งให้ผู้อ่านเข้าใจว่าบล็อกของคุณนำเสนออะไร
- ใน WordPress dashboard หรือหน้าควบคุมหลัก คุณจะต้องไปยัง “หน้า” และคลิกที่ “เพิ่มใหม่”
- คุณจะถูกนำไปยังหน้าที่คุณสามารถใส่หัวเรื่องและเขียนเนื้อหาย่อหน้าได้ ให้คุณเขียนหัวข้อ “เกี่ยวกับเรา” และเขียนอะไรบางอย่างเกี่ยวกับบล็อกของคุณใน “ย่อหน้า” เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้คลิก “เผยแพร่”
การลิงก์เพจของคุณไปยังเมนู
หน้า “เกี่ยวกับเรา” ของคุณจะไม่แสดงขึ้นหากคุณไม่สร้างลิงก์ในเมนูให้กับมัน
ที่คุณต้องทำก็คือ ไปที่หน้าแดชบอร์ด WordPress ภายใต้หัวข้อ “รูปแบบเว็บหรือ appearance” จากนั้นคลิก “เมนู” รายการเพจต่าง ๆ ของคุณควรจะถูกเพิ่มเข้ามาในโครงสร้างเมนูโดยอัตโนมัติ หากยังไม่เพิ่มเข้ามา ให้คุณคลิกช่องสี่เหลี่ยมที่อยู่ใต้ “เพิ่มรายการเมนู” และคลิกที่ “เพิ่มไปยังเมนู”
เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกที่ “สร้างเมนู” และบล็อกของคุณจะได้รับการอัปเดตกับหน้าต่าง ๆ ที่ลิงก์ในเมนู
การเพิ่มบล็อกโพสต์
อืม นี่คือหัวใจของเว็บไซต์คุณ มันเป็นเหตุผลเดียวที่คุณลงทุนทำบล็อกขึ้นมา บล็อกโพสต์ของคุณจะช่วยให้คุณไม่ดูเป็นคนนอกวงการ คงอันดับบล็อกให้ติดอยู่ในอ้ับดับต้น ๆ ของการค้นหาผ่าน Google และรักษาสถานะของความเป็นผู้รู้จริงในเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ หากคุณทำถูกทางล่ะก็ คุณจะสร้างรายได้เลี้ยงชีพจากบล็อกได้เลยทีเดียว !
แต่ก่อนที่คุณจะไปสุ่มหาเรื่องราวต่าง ๆ มาโพสต์ลงในเว็บไซต์ของคุณเอง เรามาตั้งค่าแยกแยะหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ เพื่อให้อะไร ๆ มันง่ายขึ้นในอนาคตกันดีกว่า
- ในแดชบอร์ดของ WordPress ให้คุณคลิกที่ “เรื่องหรือ posts” และเลือก “หมวดหมู่หรือ categories” คุณควรจะได้เห็นหน้าจอตามด้านล่างนี้ ใส่ชื่อหมวดหมู่ของคุณ ในตัวอย่างนี้ คุณอาจจะเรียกมันว่า “บล็อก” คลิกที่ “เพิ่มหมวดหมู่ใหม่” ตรงด้านล่าง
- ถัดไป ภายใต้หัวข้อ “เรื่อง” คลิกที่ “เพิ่มใหม่” คุณควรได้พบกับหน้าที่คุณสามารถใส่ชื่อเรื่องและเนื้อหาลงไปได้ ให้คุณเติมเต็มหน้านี้หากต้องการ เมื่อใส่เนื้อหาเสร็จแล้ว ให้มองหาแถบ “หมวดหมู่” ที่อยู่ทางด้านขวาของหน้าจอ และคลิกทำเครื่องหมายลงช่องสี่เหลี่ยมที่กำกับคำว่า “บล็อก”
คลิกที่ “เผยแพร่” แค่นี้บล็อกโพสต์ของคุณก็พร้อมใช้งานแล้ว! ทั้งหมดที่คุณต้องทำตอนนี้คือเพิ่มหมวดหมู่ลงไปในเมนู แค่นี้ก็พร้อมแล้ว
การสร้างหัวข้อ & tagline ที่กำหนดเอง
หากคุณต้องการให้ผู้คนหาบล็อกของคุณเจอและอ่านเนื้อหาของคุณ คุณจะต้องตั้งใจอ่านขั้นตอนส่วนนี้ให้ดีสักหน่อย
ชื่อเว็บไซต์ของคุณเป็นตัวบอกให้คนอื่น ๆ รู้เกี่ยวกับบล็อกของคุณ และ taglines หรือคำอธิบายแบบย่อ จะช่วยสนับสนุนชื่อเว็บ คำเหล่านี้ยังช่วยให้เสิร์ชเอนจินแยกประเภทได้และสามารถส่งบล็อกของคุณไปให้แก่ผู้ที่ค้นหาเรื่องราวในทำนองเดียวกันได้
ในการกำหนดชื่อเรื่องและ taglines คุณต้องไปที่แดชบอร์ดของ WordPress แล้วไปยัง “การตั้งค่า” จากนั้นคลิก “ทั่วไป”
จากตรงนี้ คุณสามารถเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์และ tagline ให้เป็นอะไรก็ได้ตามต้องการ ทำตรงนี้ให้เสร็จ แล้วคลิก “บันทึกการเปลี่ยนแปลง”
การปิดรับความคิดเห็น
บางครั้งเมื่อคุณแบ่งปันความคิดส่วนตัวลงในบล็อกของคุณ คุณอาจจะไม่อยากให้พื้นที่สำหรับการเปิดรับความคิดเห็นกลายเป็นช่องทางให้พวกเกรียนคีบอร์ดเข้ามาเล่นงานคุณและทิ้งความเห็นที่ไม่เป็นประโยชน์เอาไว้ตรงนั้น
อันที่จริง คุณสามารถปิดช่องทางแสดงความคิดเห็นได้อย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อที่จะไม่เปิดโอกาสให้เกรียนคีบอร์ดเหล่านั้นมาทำอะไรแย่ ๆ ในบล็อกคุณ
ในแดชบอร์ด WordPress ของคุณ ไปที่ “การตั้งค่าหรือ settings” และ “การอภิปรายหรือ discussion” ตรงนี้ให้เอาเครื่องหมายออกจากช่องสี่เหลี่ยมที่หัวข้อ “อนุญาตให้แสดงความเห็นในบทความใหม่”
การสร้าง static homepage
ก็จริงอยู่ที่คุณอยากมีบล็อก แต่คุณคงไม่อยากให้หน้าหลักของเว็บไซต์มีหน้าตาเหมือนบล็อกใช่ไหม
สิ่งที่คุณต้องการก็คือ static front page ซึ่งเป็นเหมือน “หน้าหลัก” สำหรับผู้เยี่ยมชมเว็บเข้ามาดูเหมือนอย่างบล็อกระดับมืออาชีพส่วนใหญ่ เนื้อหาใน static front page จะไม่เปลี่ยนและมันจะแสดงสิ่งต่าง ๆ เหมือนเดิมทุกครั้งที่มีคนเข้ามาเยี่ยมชม ทำให้เว็บดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
หากยังไม่สร้าง static front page ทาง WordPress ก็จะใช้เนื้อหาในบล็อกโพสต์ชิ้นล่าสุดของคุณมาแสดงเป็นหน้าหลัก ซึ่งมันดูเป็นมือสมัครเล่นเอามาก ๆ
คุณสามารถสร้าง static front page ได้โดยทำตามขั้นตอนนี้:
- ไปที่แดชบอร์ด WordPress คลิกที่ “การตั้งค่า” และ การอ่าน”
- คลิกที่ “A Static Page” จากนั้นให้เลือกหน้าที่คุณต้องการให้เป็นหน้าหลักของคุณ แล้วจึง “บันทึกการเปลี่ยนแปลง”
การเพิ่มหรือลบเนื้อหาบนแถบด้านข้าง
บางคนอยากได้เนื้อหาอยู่ตรงแถบด้านข้าง บางคนไม่ชอบเพราะอยากให้ดูสะอาดตา ไม่ว่าจะแบบไหน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับคุณ
การเพิ่มหรือลบเนื้อหาลงบนแถบด้านข้างทำได้ง่าย
- ไปยังแดชบอร์ด WordPress ของคุณ จากนั้นไปที่ “รูปแบบเว็บหรือ appearance” แล้วคลิกที่ “วิดเจ็ต (widgets)”
- คุณจะได้พบกับวิดเจ็ตที่ใช้ได้พร้อมกับแถบด้านข้างบล็อกของคุณ ที่คุณต้องทำก็คือ แค่ลากและวางวิดเจ็ตที่คุณอยากให้มาอยู่ตรงแถบด้านข้าง หรือลบวิดเจ็ตที่คุณไม่ต้องการออกไป
ขั้นตอนที่ 5 การใช้ปลั๊กอิน
เมื่อก่อน หากเราอยากจะเพิ่มประสิทธิภาพบล็อก เพิ่มฟีเจอร์ หรือสร้างฟังก์ชันใหม่ ๆ เราจะต้องทำเองทีละขั้นละตอน ไม่มีแบบอัตโนมัติ (ซึ่งใช้เวลานานและยุ่งยากสุด ๆ)
เดี๋ยวนี้ คุณสามารถทำทุกอย่างที่ว่ามาหรือทำมากกว่านั้นได้ด้วยเพียงไม่กี่คลิกเท่านั้น ต้องขอบคุณปลั๊กอิน!
หลัก ๆ แล้ว คุณสามารถเพิ่มอะไรก็ได้ที่คุณอยากจะมีในเว็บไซต์ของคุณ ไม่ว่าจะทำเว็บไซต์ให้กลายเป็ยร้านค้าออนไลน์หรือเว็บแสดงผลงาน ไม่ว่าคุณคิดจะใช้งานแบบไหน ก็น่าจะมีปลั๊กอินแบบนั้นอยู่ !
สิ่งที่คุณต้องทำเพื่อติดตั้งปลั๊กอินก็คือ ไปที่แดชบอร์ด WordPress คลิกที่ “ปลั๊กอิน” และ “เพิ่มใหม่” ถึงตรงนี้ให้คลิกที่แท็บที่เป็นที่นิยมหรือที่เป็นที่แนะนำเพื่อหาปลั๊กอินที่เหมาะกับความต้องการของคุณ แค่นี้ก็เสร็จแล้ว!
มีรายการปลั๊กอินนับไม่ถ้วนมาให้คุณเลือกใช้ แต่คุณต้องคิดไว้เสมอว่าปลั๊กอินบางตัวอาจทำให้บล็อกของคุณทำงานช้าลงได้ จงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปลั๊กอินสักหน่อยก่อนใช้จริง รับรองเลยว่าบล็อกของคุณจะทำงานรวดเร็วดั่งใจฝัน
ต่อไปนี้คือรายการปลั๊กอินที่เราชื่นชอบ:
- Yoast SEO
ช่วยให้บล็อกของคุณมีความเป็นมิตรต่อ SEO มากขึ้น - Swift Performance Lite
ช่วยลดเวลาแคชชิ่งสำหรับ WordPress ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มความเร็วให้แก่บล็อกของคุณ!
- Google Analytics by ExactMetrics
ช่วยคุณติดตามจำนวนผู้เข้าชมบล็อก เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการกำหนดเกณฑ์ตัวเลขต่าง ๆ
ตอนนี้คุณเป็นบล็อกเกอร์เต็มตัวแล้ว !
ขอแสดงความยินดีกับบล็อกเกอร์อีกคนหนึ่งในวงการ คุณได้สร้างบล็อกของตัวเองเสร็จสมบูรณ์แล้ว ! เราช่วยคุณสร้างก็จริง แต่คุณคือคนที่ลงมือทำเองทั้งหมด ฉะนั้น คุณควรปรบมือให้ตัวเองด้วยความภาคภูมิใจ !
ก่อนจากกัน มาทบทวนสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำในการสร้างบล็อกอีกสักครั้ง
- ลงทะเบียนชื่อโดเมน และเลือกบริการเว็บโฮสติ้ง
- เลือกบริษัทเว็บโฮสติ้งที่เหมาะสม
- เลือกชื่อโดเมนของคุณ
- สร้างบล็อกของคุณ
- ติดตั้ง WordPress ให้เป็นแพล็ตฟอร์มของคุณ
- ออกแบบบล็อกของคุณ
- เลือกธีมที่เหมาะสม
- ติดตั้งธีม
- เพิ่มเนื้อหา
- เพิ่มเรื่อง เมนู และแก้ไขหน้า
- กำหนดค่าและปรับเปลี่ยน
- ติดตั้งปลั๊กอิน
จงปรับเปลี่ยนการตั้งค่าอยู่เสมอ !
จำไว้เสมอว่า WordPress เป็นแพล็ตฟอร์มที่ให้คุณปรับเปลี่ยนอะไรก็ตามตามใจคุณ คุณสามารถสร้างบล็อกได้ทุกประเภทตามที่ต้องการด้วย WordPress ดังนั้น จงลองปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าคุณจะรู้สึกพอใจกับสิ่งที่ได้ 100% ! และก็เช่นเคย ส่งข้อความมาหาเรา ได้เลยหากคุณมีคำถามอะไรก็ตาม