ทุกอย่างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการทดสอบความเร็วเว็บไซต์ของเรา (และทำไมคุณต้องใช้มัน!)
อัปเดตล่าสุด 19/4/21
ข่าวดีมาแล้ว! ทีมของเราเพิ่งทำการอัปเดตครั้งใหญ่ให้กับเครื่องมือทดสอบความเร็วของ Bitcatcha ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบใคร ๆ โดยนอกจากจะวัดความเร็วของเซิร์ฟเวอร์แล้ว ยังวัดความเร็วของเว็บไซต์ได้อีกด้วย! เชิญอ่านบทความเพื่อหาคำตอบว่ามันทำงานอย่างไร
การทดสอบความเร็วเว็บไซต์ของเราสามารถช่วยคุณเพิ่มยอดขายและโอกาสในการขายสำหรับธุรกิจออนไลน์ของคุณ
หากคุณอยากรู้ว่ามันทำได้ยังไง ก็อย่าเพิ่งไปไหน เราจะแจกแจงทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของเราอย่างละเอียด รวมถึงเหตุใดสิ่งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อธุรกิจของคุณ
สารบัญ
เรากำหนดความเร็วเว็บไซต์อย่างไร
เครื่องมือของเราวัดอะไรบ้างและทำไมต้องวัด
- การวัดเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์หรือที่เรียกว่าความเร็วของเซิร์ฟเวอร์
- การวัด Largest Contentful Paint
- การวัด Total Blocking Time
- ทำไมเราไม่วัด CLS
คะแนนเว็บไซต์ของคุณหมายถึงอะไรบ้าง
- วิธีได้คะแนนรวมที่ระดับ A+
- ระบบการจัดอันดับเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์
- การจัดอันดับ LCP และ TBT ด้วย Lighthouse API
สิ่งที่คุณทำได้เพื่อปรับปรุงแต่ละจุดให้ดีขึ้น
- การปรับปรุงความเร็วของเซิร์ฟเวอร์
- การปรับปรุง Largest Contentful Paint
- การปรับปรุง Total Blocking Time
บทสรุป
คำถามที่พบบ่อย
ความเร็วคือหัวใจสำคัญบนโลกอินเทอร์เน็ต
คนเก่าคนแก่เคยสอนว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม แต่ในชีวิตจริงของโลกปัจจุบัน ไม่มีใครชอบที่จะต้องรอ ไม่ว่าจะเป็นการรอที่เคาน์เตอร์ชำระเงินหรือการรอติดไฟแดงหรือแม้แต่รอลิฟต์ ไม่มีใครชอบรอทั้งนั้น
สิ่งนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีกบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ซึ่งผู้คนคุ้นเคยกับความรวดเร็วปานสายฟ้าแล่บ คนบนโลกอินเทอร์เน็ตรู้สึกว่า การที่จะต้องรอถึง 3 วินาทีกว่าเว็บไซต์จะโหลดเป็นอะไรที่นานเกินรอ
สิ่งนี้ฟังดูไร้สาระสิ้นดี แต่ความจริงก็คือความจริง
จากข้อมูลของ Think with Google, โอกาสที่ผู้ใช้จะออกจากหน้าเว็บเพิ่มขึ้น เป็น 32% หากเว็บไซต์ใช้เวลาในการโหลดบนมือถือระหว่าง 1 ถึง 3 วินาทีและโอกาสที่คนจะผละออกจากหน้าเว็บก็ิยิ่งมากขึ้นตามแต่ละวินาทีที่ผ่านไป
เรื่องนี้สำคัญอย่างที่สุด เพราะหากคุณทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ โดยหลัก ๆ แล้ว คุณจะสูญเสียผู้เข้าชมเว็บไซต์ไปถึง 32% นั่นคือ คุณไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะนำเสนอสินค้าเพื่อดึงเงินออกจากกระเป๋าของคนกลุ่มนี้เลยแม้แต่น้อย !
แต่นั่นเป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้น
อันที่จริง Google ได้ประกาศว่า Core Web Vitals หรือตัวชี้วัดประสบการณ์ของผู้เข้าชมเว็บจะเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การจัดอันดับของทางบริษัทในไม่ช้าและจากตัวชี้วัดทั้งหมด 3 ตัว (Largest Contentful Paint, First Input Delay, Cumulative Layout Shift), 2 ตัวแรกส่งผลต่อความเร็วเป็นอย่างมาก
นั่นหมายความว่าหากเว็บไซต์ของคุณโหลดช้าเกินไปก็จะให้ประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีแก่ผู้ใช้ ด้วยประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดี Google ก็จะไม่แสดงเว็บไซต์ของคุณให้อยู่อันดับต้น ๆ ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่ผู้คนจะเห็นเว็บไซต์ของคุณจะลดลง คุณพอจะมองออกแล้วใช่ไหมว่าผลลัพธ์ที่ตามมาจะเป็นอย่างไร
เว็บโหลดช้า
↓
เว็บไม่ได้อยู่อันดับต้น ๆ ของการแสดงผล
↓
คนมองไม่เห็นเว็บไซต์
↓
เว็บไซต์มียอดขายเป็นศูนย์
หากคุณต้องการเพิ่มยอดขายและโอกาสในการขาย เว็บไซต์ของคุณต้องโหลดให้เร็วที่สุด เราจะแสดงให้คุณเห็นอย่างชัดเจนว่าคุณจะทำได้อย่างไร
เราวัดความเร็วเว็บไซต์อย่างไร
หลายคนไม่ทราบเรื่องนี้ ซึ่งจริงๆแล้วความเร็วของเว็บไซต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความเร็วเซิร์ฟเวอร์และความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ มันอาจจะฟังดูเหมือนกันแต่มันไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน
มารู้จักกับความเร็วของเซิร์ฟเวอร์
ความเร็วของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งขึ้นอยู่กับบริการเว็บโฮสติ้งของคุณถือเป็นหัวใจสำคัญของเว็บไซต์ของคุณ เว็บไซต์ของคุณทำอะไรได้เร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าบริการเว็บโฮสติ้งของคุณเร็วแค่ไหน
ให้คิดซะว่ามันเหมือนรถ เครื่องยนต์ยิ่งดีรถก็ไปได้เร็วขึ้น เราวัดความเร็วของเซิร์ฟเวอร์ตามระยะเวลาที่เซิร์ฟเวอร์ตอบสนองต่อคำขอ (เป็นมิลลิวินาที)
ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ขึ้นอยู่กับการออกแบบเว็บ ความสะอาดของโค้ด ระบบแคชชิ่ง ปลั๊กอิน สื่อภาพและเสียง ทั้งหมดนี้ช่วยเรื่องความเร็วในการ โหลดเว็บไซต์ได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าเซิร์ฟเวอร์ของคุณทำงานช้า ทุกอย่างก็จะช้าไปด้วย
ลองคิดว่ามันเหมือนรถดูอีกครั้ง คุณสามารถอัปเกรดระบบส่งกำลัง เพิ่มเทอร์โบชาร์จเจอร์ เปลี่ยนขอบล้อให้เบาบางลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ถ้าเครื่องยนต์อืด สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยอะไรไม่ได้
ดังนั้น เว็บโฮสติ้งและการออกแบบโค้ดจึงต้องไปในทางเดียวกันเพื่อทำให้เว็บไซต์ของคุณทำงานอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเว็บโฮสติ้งช้า ไม่ว่าคุณจะออกแบบโค้ดให้ดีเลิศแค่ไหนก็ช่วยอะไรไม่ได้
มารู้จักกับ Core Web Vitals
Core Web Vitals หรือตัวชี้วัดประสบการณ์ของผู้เข้าชมเว็บประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 อย่าง ซึ่ง Google ใช้ในการพิจารณาประสิทธิภาพเว็บไซต์ของคุณ ได้แก่ Largest Contentful Paint, First Input Delay, and Cumulative Layout Shift.
- Largest Contentful Paint (LCP)
LCP คือตัววัดว่าเนื้อหาที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มองเห็นในเว็บไซต์ของคุณโหลดได้เร็วแค่ไหน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มข้อความหรือรูปภาพ ตัวอย่างเช่น หากคุณมีรูปภาพขนาดใหญ่ที่ฝังอยู่ในเว็บไซต์ของคุณ LCP จะวัดว่ารูปภาพนั้นใช้เวลาโหลดเร็วแค่ไหนเมื่อคิดเป็นวินาที ซึ่ง LCP ควรต่ำกว่า 2.5 วินาทีเพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ดี - First Input Delay (FID)
คุณก็รู้ว่ามันน่ารำคาญขนาดไหนเวลาที่คุณคลิกที่ปุ่มอะไรสักอย่างหลังจากหน้าเว็บเริ่มปรากฏขึ้นมา แต่หน้าเว็บกลับไม่ตอบสนองอะไรเลยจนกว่าหน้าเว็บจะถูกโหลดจนครบสมบูรณ์ทุกอย่าง FID จะวัดความล่าช้านี้ด้วยหน่วยที่เป็นมิลลิวินาที พูดให้ชัดลงไปอีกก็คือ ดูว่าเมื่อผู้ใช้โต้ตอบกับเพจเป็นครั้งแรกจนถึงเวลาที่เบราว์เซอร์ให้การตอบสนองมีความล่าช้ามากน้อยแค่ไหน ตามหลักการแล้ว เว็บไซต์ควรมี FID น้อยกว่า 100 มิลลิวินาที - Cumulative Layout Shift (CLS)
เราทุกคนเคยมีประสบการณ์ที่ว่า ระหว่างโหลดเว็บไซต์ พอเราคลิกที่ปุ่มอะไรสักอย่าง หน้าเว็บกลับเลื่อนไปในวินาทีสุดท้ายและทำให้คลิกไปโดนโฆษณาแทน CLS วัดความเสถียรของสิ่งที่เราเห็นบนหน้าเว็บไซต์เพื่อป้องกันไม่ให้เราคลิกไปที่ลิงก์ซึ่งเราไม่ได้ตั้งใจจะคลิก
หากเว็บไซต์ของคุณตอบโจทย์ข้อกำหนดที่ว่านี้ทั้ง 3 ข้อ โอกาสที่เว็บของคุณจะถูกจัดอันดับให้อยู่ในอันดับต้น ๆ ของการแสดงผลในการค้นหาของ Google ก็มีแนวโน้มสูงขึ้น!
เครื่องมือของเราวัดอะไรบ้างและทำไมต้องวัด
เครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของ Bitcatcha วัดได้ 3 อย่าง:
- เวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์
- Largest Contentful Paint
- Total Blocking Time
ตัวชี้วัดที่ 1: เวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์
เมื่อคุณกรอก URL ในเครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของเรา ระบบจะส่งสัญญาณจาก 10 โหนดทั่วโลกของเรามายังเว็บไซต์ของคุณ เพื่อวัดว่าเซิร์ฟเวอร์ของคุณใช้เวลานานแค่ไหนในการตอบสนองต่อคำขอเหล่านี้ที่มาจากทั่วโลก โดยเป็นการจำลองสถานการณ์ว่าคน 10 คนจากทั่วทุกมุมโลกเปิดดูเว็บไซต์ของคุณพร้อมกัน
ผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายคือ ค่าความเร็วเฉลี่ยจากทั่วโลกของเซิร์ฟเวอร์ของคุณโดยมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที
ตัวชี้วัดที่ 2: Largest Contentful Paint
เราวัด LCP เนื่องจากเราทราบดีว่า Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้ในการจัดอันดับการแสดงผลการค้นหา ซึ่งการโหลดที่ช้าไม่เข้าข่ายประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้อย่างแน่นอน
ในการวัด LCP นั้น Lighthouse จะตรวจสอบว่าองค์ประกอบที่เห็นชัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในเว็บไซต์ของคุณใช้เวลาโหลดนานเท่าใด (นับเป็นวินาที) และใช้เวลาที่ได้ในการจัดอันดับ สิ่งนี้ทำโดยอัตโนมัติผ่าน Lighthouse API ซึ่งเราได้รวมไว้ในเครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของเรา
ตัวชี้วัดที่ 3: Total Blocking Time
TBT ทำงานโดยการวัดระยะเวลาทั้งหมดโดยประมาณที่เบราว์เซอร์ของคุณถูก บล็อกขณะที่เว็บไซต์กำลังโหลด ลองนึกภาพสิ่งนี้ – การโหลดรูปภาพ, ข้อความ, JavaScript และอื่นๆ ล้วนดึงพลังงานจาก CPU ซึ่งบล็อกเบราว์เซอร์ของคุณไม่ให้ทำอะไรได้มากขึ้น
ด้วยการประมาณระยะเวลาทั้งหมดที่เบราว์เซอร์ของคุณถูกบล็อกขณะกำลังโหลดอะไรสักอย่าง Lighthouse จึงสามารถวัดได้ว่าผู้ใช้มีประสบการณ์ที่ดีมากน้อยแค่ไหน
พูดสั้น ๆ ก็คือ ยิ่งเบราว์เซอร์ของคุณถูกบล็อกน้อยมากเท่าไหร่ ประสบการณ์ของผู้ใช้ก็จะดีขึ้นเท่านั้น
การปรับปรุงตัวเลข TBT ให้ดีขึ้นเป็นการช่วยให้เบราว์เซอร์ของคุณตอบสนองดีขึ้นในท้ายที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่คะแนน FID ที่ดีขึ้นเองโดยปริยาย! TBT ถูกนำมาวัดแทน FID ก็เพราะว่า FID จำเป็นต้องใช้ข้อมูลผู้ใช้จริงซึ่งไม่สามารถจำลองได้ ขณะที่ TBT เป็นข้อมูลในห้องปฏิบัติการที่สามารถจำลองได้ และตัวเลข TBT ที่ดีจะช่วยให้ตัวเลข FID ดีขึ้นด้วยโดยอัตโนมัติ จึงถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดแทนในกรณีนี้
ทำไมเราไม่วัด CLS
เราต้องการให้เครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของเราทุ่มเทเป็นพิเศษให้กับการวัดความเร็วของเว็บไซต์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ LCP และ TBT ด้วยวิธีนี้ผู้ใช้ของเราสามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมากขึ้นว่า ส่วนใดของเว็บไซต์ที่ทำให้เกิดปัญหาคอขวดในแง่ของความเร็วในการโหลด – เว็บโฮส ติ้งหรือการออกแบบโค้ด
เนื่องจาก CLS วัดความเสถียรของภาพซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความเร็ว ดังนั้น เราจึงเลือกที่จะไม่ใช้เครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของเราในการวัด CLS
คะแนนเว็บไซต์ของคุณบ่งบอกถึงอะไร
เราได้อธิบายไปแล้วว่า เครื่องมือของเราทำงานอย่างไรและทำอะไรบ้าง ฉะนั้น ตอนนี้คุณก็อาจจะอยากรู้ว่า คะแนนเว็บไซต์ของคุณหมายถึงอะไรบ้าง เมื่อคุณกรอก URL และกด Enter คุณจะได้รับระดับคะแนนรวมขั้นสุดท้ายของเว็บไซต์ของคุณซึ่งมีตั้งแต่ A+ ลงไปจนถึง E
หากเว็บไซต์ของคุณได้คะแนนรวมขั้นสุดท้ายเป็น B+ หรือดีกว่าอย่างสม่ำเสมอ แสดงว่าคุณมีเว็บไซต์ที่ทำงานได้ค่อนข้างรวดเร็ว! แต่ถ้าคุณได้รับผลลัพธ์ที่แย่กว่านั้น คุณจะต้องเริ่มเสริมประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์ของคุณ
ทำยังไงให้ได้คะแนนรวมขั้นสุดท้ายในระดับ A+
เราใช้ผลลัพธ์จากการทดสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของเรารวมกับตัวเลขจากตัวชี้วัด ประสบการณ์ของผู้ใช้เว็บไซต์และแปลงเป็นเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเปอร์เซ็นต์ที่ได้ออก มาจากตัวชี้วัด 3 ตัวนี้จะถูกนำมาเฉลี่ยเป็นคะแนนรวมขั้นสุดท้ายของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งมีการจัดอันดับไว้ดังนี้:
- A+ อยู่ระหว่าง 91% – 100%
- A อยู่ระหว่าง 81% – 90%
- B+ อยู่ระหว่าง 71% – 80%
- B อยู่ระหว่าง 61% – 70%
- C+ อยู่ระหว่าง 51% – 60%
- C อยู่ระหว่าง 41% – 50%
- D+ อยู่ระหว่าง 31% – 40%
- D อยู่ระหว่าง 21% – 30%
- E+ อยู่ระหว่าง 11% – 20%
- E อยู่ระหว่าง 0% – 10%
แน่นอนว่า คุณต้องการได้คะแนนรวมขั้นสุดท้ายที่ระดับ A+ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเว็บไซต์ของคุณทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมในสายตาของผู้ใช้และเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะอยู่ในอันดับต้น ๆ ของการค้นหาผ่าน Google อย่างเลวร้ายที่สุดคุณจะต้องได้ไม่ต่ำกว่า B
แต่คุณจะทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาคะแนนของคุณ
ถ้าคุณมองให้ดี ๆ คุณจะเห็นว่าได้มีการนำสีมาใช้บอกระดับตัวชี้วัดแต่ละรายการ
คะแนนที่ดีจะแสดงเป็นสีเขียว คะแนนปานกลางเป็นสีเหลืองและหากคะแนนไม่ดีคะแนนจะเป็นสีแดง หากต้องการได้คะแนนรวมเป็น A+ คุณจะต้องได้สีเขียวทั้งสามตัวชี้วัด
ระบบจัดอันดับความเร็วเซิร์ฟเวอร์
ตามที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อกรอก URL ลงในเครื่องมือตรวจสอบความ เร็ว โหนด 10 โหนดของเราที่กระจายอยู่ทั่วโลกจะส่งสัญญาณไปยังเว็บไซต์และแจ้งให้เราทราบว่าต้องใช้เวลานานเท่าใดกว่าจะได้รับการตอบสนองซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที
เราใช้ตัวเลขจากสถานที่ 10 แห่งนี้มาคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยทั่วโลก จากนั้นค่าเฉลี่ยทั่วโลกจะได้รับการจัดอันดับตามแผนภูมิด้านล่าง
- ความเร็วของเซิร์ฟเวอร์ต่ำกว่า 180 มิลลิวินาทีถือว่า: ดี (สีเขียว)
- 181 มิลลิวินาที – 840 มิลลิวินาที: ปานกลาง (สีเหลือง)
- 840 มิลลิวินาทีขึ้นไป: ต้องการการปรับปรุง (สีแดง)
ระดับความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของคุณตามมาตรฐานของ Bitcatcha ควรอยู่ในระดับดี (180 มิลลิวินาทีและต่ำกว่า) คะแนนความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของเราใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้เป็นอย่างดีว่า บริการเว็บโฮสติ้งของคุณเร็วแค่ไหน
การจัดอันดับ LCP และ TBT ด้วย Lighthouse API
Lighthouse (ซึ่งเป็นเครื่องมือของ Google ในการทดสอบดัชนีชี้วัดประสบการณ์ของผู้ใช้เว็บไซต์ ได้ถูกรวมอยู่ในการทดสอบความเร็วเว็บไซต์ของเราด้วย) จะวัด LCP ด้วยหน่วยที่เป็นวินาที
หากเนื้อหาที่ใหญ่ที่สุดใช้เวลาโหลดภายใน:
- 2.5 วินาทีหรือน้อยกว่านั้นถือว่าดี (สีเขียว)
- 2.5 – 4 วินาทีถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง (สีเหลือง)
- 4 วินาทีขึ้นไปถือว่าต้องปรับปรุง (สีแดง)
TBT วัดระยะเวลาที่เบราว์เซอร์ของคุณถูกบล็อกเป็นมิลลิวินาที:
- 0 – 300 มิลลิวินาทีถือว่าเร็ว (สีเขียว)
- 300 – 600 มิลลิวินาทีถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง (สีเหลือง)
- 600 มิลลิวินาทีขึ้นไปถือว่าไม่ดี (สีแดง)
แล้วเว็บไซต์ชั้นนำของโลกได้รับคะแนนเท่าไหร่?
เราอดใจไม่ไหวที่จะต้องนำเอาเว็บไซต์ยอดนิยมของโลกมาทดสอบกับเครื่องมือทดสอบความเร็วเว็บไซต์โดย Bitcatcha ของเรา เชิญไปที่หน้าผลการทดสอบเว็บไซต์ 100 อันดับแรกของเราเพื่อดูว่าเว็บไซต์เหล่านี้ทำงานได้ดีเพียงใดและเว็บไซต์ของคุณเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบเว็บเหล่านี้!
คุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อปรับปรุงแต่ละตัวชี้วัด
ตอนนี้มีสูตรผสมมากถึง 27 สูตรที่ใช้คาดคะเนว่าผลลัพธ์สุดท้ายจะเป็นอย่างไรซึ่งเราไม่สามารถครอบคลุมทั้งหมดได้ ดังนั้น เราจะเน้นไปที่พื้นฐานเลย นั่นคือวิธีทำให้ได้คะแนนสีเขียวในแต่ละตัวชี้วัด
การปรับปรุงความเร็วเซิร์ฟเวอร์
นี่เป็นเรื่องง่ายและตรงไปตรงมา หากคุณได้รับคะแนนสูงกว่า 500 มิลลิวินาทีอย่างต่อเนื่อง คุณควรพิจารณาผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งของคุณให้ละเอียดยิ่งขึ้น การเปลี่ยนไปหาผู้ให้บริการที่สามารถเพิ่มความเร็วเซิร์ฟเวอร์จะเป็นประโยชน์อย่างมาก! ตรวจสอบรายชื่อ เว็บโฮสติ้งที่เร็วที่สุดของเรา
การปรับปรุง Largest Contentful Paint (LCP)
มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อปรับปรุงคะแนน LCP ของคุณ คำเตือนก็คือสิ่งต่าง ๆ อาจออกไปในทางเทคนิคสักหน่อย ฉะนั้น จงเตรียมตัวให้ดี
- การปรับปรุงความเร็วของเซิร์ฟเวอร์
ด้วยการเปลี่ยนไปใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพดีกว่า LCP ของคุณก็จะดีขึ้นไปด้วยเช่นกัน นี่เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการปรับปรุง LCP - เสริมประสิทธิภาพทรัพย์สินของคุณ
ผู้คนมักใส่รูปภาพตามที่เป็นลงบนเว็บไซต์ บางครั้งภาพเหล่านี้อาจมีขนาดใหญ่โดยไม่จำเป็นซึ่งส่งผลให้การทำงานช้าลงและส่งผลกระทบต่อ LCP ปรับแต่งภาพของคุณด้วยเครื่องมือออนไลน์เสียก่อนเช่น https://tinypng.com/ ซึ่งจะช่วยลดจำนวนกิโลไบต์ที่ต้องใช้ในการโหลดซึ่งช่วยในเรื่อง LCP - ใช้ CDN
ด้วยการใช้ Content Delivery Network (CDN), ข้อมูลของคุณจะถูกกระจายไปยังเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ในสถานที่ต่าง ๆ เมื่อมีคนโหลดเว็บไซต์ของคุณ เนื้อหาจะถูกโหลดจาก CDN ที่ใกล้ที่สุดซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วในการ โหลดเว็บไซต์ได้มากทีเดียว! - แคชชิ่งเนื้อหาของคุณ
หากคุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปภาพในเว็บไซต์ตลอดเวลา คุณควรจะทำแคชชิ่งไว้ วิธีนี้สามารถป้องกันไม่ให้ไฟล์ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยไม่จำเป็น ซึ่งจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรอันจะส่งผลให้การโหลดใช้เวลาสั้นลง โดยสามารถทำได้ด้วยการแคชชิ่งฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เช่น NGINX และ Varnish.
การปรับปรุง Total Blocking Time (TBT)
นี่คือบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อปรับปรุงคะแนน TBT
- ลบ JavaScript ที่ไม่ได้ใช้
JavaScript ใช้ทรัพยากรในการทำงาน หากบางอย่างทำงานตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย นั่นก็แค่เพิ่มเวลาที่เบราว์เซอร์ถูกบล็อกนั่นเอง ระบุสิ่งที่คุณไม่ต้องการและกำจัดทิ้งไป - ลดไลบรารี JavaScript ที่แน่น
ปลั๊กอินบางตัวและสิ่งที่เกี่ยวข้องกันต้องใช้ jQueries จำนวนมากซึ่งอาจใช้ทรัพยากรค่อนข้างมาก ลดสิ่งเหล่านี้เพื่อให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น - อย่าเพิ่งโหลด JavaScript ที่ไม่ได้ใช้
เลื่อนการโหลด JavaScript ที่ไม่สำคัญไว้ทีหลัง คุณจะเพิ่มทรัพยากรอันมีค่าของเบราว์เซอร์ซึ่งจะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลเร็วขึ้นและปรับปรุงคะแนน TBT ของคุณ - ใช้การแยกรหัส
การแบ่งโค้ด JavaScript ของคุณเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่สามารถโหลดได้ในบางเงื่อนไข ส่งผลให้สามารถดึงโมดูลตามความต้องการได้ โดยทั่วไปโมดูลจะไม่ถูกโหลดเข้ามาเว้นแต่จำเป็น คุณสามารถทำได้หากคุณใช้กรอบงานฝั่งไคลเอ็นต์ เช่น React, Angular, และ Vue.
วิธีที่ง่ายที่สุดในการปรับปรุง TBT ของคุณคือ การมีเว็บไซต์ที่ซับซ้อนน้อยกว่า ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้อันดับ TBT ลดลงคือไลบรารี JavaScript ที่ไม่ได้ใช้งานแต่ยังโหลดอยู่ในเว็บไซต์
การกำจัดสิ่งเหล่านี้และสิ่งใดก็ตามที่ปิดกั้นความเร็วในการแสดงผลของเบราว์เซอร์ของคุณจะส่งผลให้คะแนน TBT ดีขึ้น!
ตัวชี้วัดประสบการณ์ของผู้ใช้เว็บไซต์เป็นหัวข้อที่กว้างมากและมันไม่สมเหตุสมผลที่เราจะกล่าวถึงทุกอย่างในบทความนี้ หากคุณสนใจวิธีแก้ปัญหาสำหรับ LCP และ TBT ของคุณที่ละเอียดกว่านี้ โปรดดูที่หน้านี้ เนื้อหาน่าจะให้แนวคิดว่าคุณจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อปรับปรุงคะแนนของคุณ!
หากคุณไม่รู้วิธีทำด้วยตัวเอง คุณอาจต้องพิจารณาจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้คุณไม่ต้องปวดหัว
บทสรุป: ทบทวนกันแบบด่วน ๆ อีกครั้ง
ที่นั่นคุณมีมัน
เราได้พูดถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของเรารวมถึงวิธีการทำงาน ในกรณีที่คุณตามไม่ทันในบางช่วง ต่อไปนี้คือการทบทวนแบบย่ออีกครั้งหนึ่ง
เครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของเราทดสอบ 3 สิ่งเป็นการเฉพาะ:
- เวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์
- Largest Contentful Paint
- Total Blocking Time
ตัวชี้วัดเหล่านี้จะนำไปสู่คะแนนรวมขั้นสุดท้ายซึ่งจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณจากระดับ A+ ลงไปจนถึง E คุณต้องทำให้เว็บไซต์ของคุณได้รับการจัดอันดับ B+ เป็นอย่างน้อย ไม่เช่นนั้นคุณจะต้องเจอกับปัญหาที่โอกาสในการขายและยอดขายลดลง รวมถึงอันดับที่ลดลงในการแสดงผลการค้นหาของ Google เนื่องจากเว็บไซต์โหลดช้า
คุณจะทำให้คะแนนรวมขั้นสุดท้ายดีขึ้นได้โดยให้ความสนใจกับดัชนีชี้วัดทั้ง 3 ตัว พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนและปรับแต่งจนกว่าทั้ง 3 ดัชนีชี้วัดจะเป็นสีเขียว แค่นี้คุณก็จะได้รับการจัดอันดับ A+ ซึ่งใคร ๆ ก็ต้องการ!
เครื่องมือตรวจสอบความเร็วเว็บไซต์ของเราจะช่วยคุณวินิจฉัยว่า ส่วนใดของเว็บไซต์ของคุณที่ทำให้ความเร็วลดลง ซึ่งช่วยทำให้คุณตรวจสอบได้ง่ายขึ้นแทนที่จะเสียเวลาอันมีค่าไปกับการทดสอบทุกอย่างทีละรายการ
นอกจากนี้ มันยังช่วยให้คุณมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของดัชนีชี้วัดประสบการณ์ของผู้ใช้เว็บไซต์ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการติดอันดับต้น ๆ ของการแสดงผลผ่าน Google ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มยอดขาย!
หากคุณไม่รู้ว่าจะเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งค่ายไหนดี เราได้ทำการศึกษาค้นคว้าไว้ให้แล้วว่า ใครคือผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ซึ่งมีประโยชน์มากไม่ว่าคุณจะเป็นบล็อกเกอร์ ผู้ขายของออนไลน์หรือที่ปรึกษาก็ตาม
คำถามที่พบบ่อย
1. ความเร็วของเว็บไซต์นั้นสำคัญไฉน?
ความเร็วของเว็บไซต์อาจมีผลโดยตรงต่อโอกาสในการขายของผ่านเว็บไซต์ของคุณ เนื่องจากเว็บไซต์ที่เร็วกว่าจะช่วยให้ผู้เข้าชมได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่า เว็บไซต์ที่ทำงานช้าอาจส่งผลเสียต่อโอกาสที่จะได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับต้น ๆ ของการแสดงผลผ่านเครื่องมือค้นหา
2. ทำไมเว็บไซต์ของฉันโหลดช้า?
มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เว็บไซต์ทำงานช้า อาจเป็นเพราะโฮสต์เว็บที่ไม่ดี โค้ดของเว็บไซต์ที่ไม่ได้รับการปรับให้เหมาะสม หรือเว็บไซต์ของคุณอาจมีภาพและเสียงมากเกินไป คุณสามารถใช้เครื่องมือทดสอบความเร็วเว็บไซต์ของเราได้ฟรีเพื่อระบุว่าปัญหาอยู่ที่ใด
3. ฉันจะแก้ปัญหาเว็บไซต์ช้าได้อย่างไร?
เพียงแค่ทดสอบเว็บไซต์ของคุณด้วยเครื่องมือทดสอบความเร็วเว็บไซต์ฟรีของเรา มันจะสร้างรายงานโดยละเอียดซึ่งจะแสดงให้คุณเห็นว่าองค์ประกอบไหนด้อยประสิทธิภาพ จากจุดนี้ คุณก็จะทราบว่าคุณควรดำเนินการปรับปรุงส่วนใดของเว็บไซต์
4. ความเร็วเว็บไซต์ที่ดีคืออะไร?
ตามหลักการแล้วคุณจะต้องได้รับคะแนนสีเขียวจากดัชนีชี้วัดทั้ง 3 รายการในการทดสอบของเรา อย่างน้อยที่สุดคุณต้องแน่ใจว่าเวลาตอบสนองโดยเฉลี่ยของเว็บไซต์ของคุณเร็วกว่า 180 มิลลิวินาที ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้เว็บโฮสต์ที่รวดเร็ว.
5. 10 สถานที่ซึ่งรวมอยู่ในการทดสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ไหนบ้าง?
สถานที่ 10 แห่งในการทดสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของเรา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ตะวันตก) สหรัฐอเมริกา (ตะวันออก) ลอนดอน สิงคโปร์ เซาเปาลู มุมไบ ซิดนีย์ ญี่ปุ่น แคนาดาและเยอรมนี
6. ฉันจำเป็นต้องติดตั้งอะไรในเว็บไซต์ของฉันสำหรับการทดสอบนี้หรือไม่?
ไม่จำเป็นเลย! คุณเพียงแค่ใส่ URL ของเว็บไซต์ลงไปในเครื่องมือของเราเพื่อทำการทดสอบ คุณจะได้รับรายงานประสิทธิภาพเว็บไซต์ของคุณทันที
7. การใช้เครื่องมือนี้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของฉันได้โดยตรงหรือไม่?
ไม่ เครื่องมือของเราเพียงช่วยตรวจสอบและบอกคุณว่า เว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพแค่ไหน อย่างไรก็ตาม เราให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ของคุณสำหรับทุกตัวชี้วัด