เนื้อหาของ Bitcatcha เกิดจากการสนับสนุนของผู้อ่าน เมื่อคุณซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นจากพันธมิตร เรียนรู้เพิ่มเติม

5 เว็บโฮสติ้งราคาถูกที่ดีที่สุดในปี 2023 – จ่ายน้อยได้มาก

เขียนโดย
Daren Low
อัปเดตแล้ว
December 11, 2023

 

เว็บโฮสติ้งราคาถูก

โฮสต์เว็บราคาถูกที่ดีที่สุดมอบฟีเจอร์ชั้นนำ ประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมและการสนับสนุนที่ยอดเยี่ยมในราคาต่ำกว่า $5! ราคาเริ่มต้นที่ต่ำของพวกเขามีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเว็บไซต์ในราคาประหยัด

 

เว็บโฮสติ้งราคาถูกที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของเราตกเป็นของ Hostinger ด้วยความเร็ว ฟีเจอร์และการสนับสนุนระดับพรีเมียม – แผนเริ่มต้นที่ราคา 76 บาท / เดือน!

 

ตั้งแต่ปี 2014 เราได้ซื้อและทดสอบแบรนด์เว็บโฮสติ้งกว่า 30 แบรนด์ เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล เราได้ตรวจสอบประสิทธิภาพ ฟีเจอร์ การสนับสนุนและราคา แล้วเลือกให้เหลือ 5 เว็บโฮสติ้งราคาถูกที่ดีที่สุดที่ไม่ห่วยจริงๆ!

 

การค้นพบทั้งหมดของเราได้รับการจัดทำเป็นเอกสารและเชื่อมโยงไว้ด้านล่างเอาไว้สำหรับคุณเท่านั้น

 

5 เว็บโฮสติ้งราคาถูกที่ดีที่สุด

 

  1. Hostinger – เริ่มต้นที่ 76 บาท 32บาท/เดือน
  2. HostMetro – เริ่มต้นที่ 96 บาท/เดือน
  3. GreenGeeks – เริ่มต้นที่ 119 บาท/เดือน
  4. A2 Hosting – เริ่มต้นที่ 100 บาท/เดือน/
  5. Bluehost – เริ่มต้นที่ 190 บาท/เดือน

 

หมายเหตุ

  1. ราคาทั้งหมดที่แสดงด้านล่างเป็นไปตามอัตราของแผนเริ่มต้น 24 เดือน
  2. คุณอาจได้ราคาที่ต่ำลงกว่าเดิมด้วยการเลือกระยะเวลาการสมัครที่นานขึ้น

 


แพ็กเกจ

Single

ราคาใช้ครั้งแรก

76 บาท / เดือน

ราคาเมื่อต่ออายุ

105 บาท / เดือน

ฟีเจอร์หลัก

  • SSD 30 GB
  • SSL ฟรี
  • hPanel
  • ฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิคที่ยอดเยี่ยม
  • ราคาใช้ครั้งแรกต่ำมาก

“บริการเยี่ยม ราคาย่อม แค่นี้ก็เกินพอ”

 

Hostinger เป็นตัวเลือกอันดับแรกสำหรับเว็บโฮสติ้งราคาถูกของเรา เพราะค่ายนี้ให้บริการแบบพรีเมียมในราคาสมัครใช้งานครั้งแรกที่ถูกจนเหลือเชื่อ ในที่นี้ เรานำเสนอราคาจากแพ็กเกจที่่ถูกที่สุดของค่ายนี้ซึ่งเป็นแพ็กเกจแบบผูกสัญญา 12 เดือนโดยราคาเฉลี่ยตกเดือนละ 76 บาท แต่หากคุณเลือกแพ็กเกจแบบ 48 เดือน ค่าบริการที่คุณต้องจ่ายเหลือแค่ 32 ต่อเดือนเท่านั้น!

 

เซิร์ฟเวอร์ของค่ายนี้มีความเร็วสูงมากไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกเพราะมีศูนย์ข้อมูลกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากเพราะด้วยราคาที่ถูกขนาดนี้ คุณคงไม่คิดว่าเซิร์ฟเวอร์จะเร็วได้

 

ค่ายนี้ยังมีรายการฟีเจอร์ดี ๆ แบบไม่อั้น เช่น

 

  • บัญชีอีเมล
  • เว็บไซต์
  • แบนด์วิดธ์
  • ระบบตั้งคำสั่งล่วงหน้าหรือครอนจ๊อบ

 

นอกเหนือจากความเร็วและฟีเจอร์แล้ว Hostinger ยังมีฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิคที่ยอดเยี่ยม โดยให้บริการเป็นภาษาท้องถิ่นในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ! Hostinger ใส่ฟีเจอร์ดี ๆ ไว้แน่นแพ็กเกจในราคาที่จับต้องได้ โดยเฉพาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มใช้ค่ายนี้เป็นครั้งแรก

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hostinger

 

 

 


แพ็กเกจ

MegaMax Plan

ราคาใช้ครั้งแรก

96 บาท / เดือน

ราคาเมื่อต่ออายุ

96 บาท / เดือน

ฟีเจอร์หลัก

  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเต็มพิกัด
  • แบนด์วิดธ์เต็มพิกัด
  • ฟรี 1 โดเมน
  • ราคาเดิมตลอดไป
  • โดเมนโฮสติ้งแบบไม่จำกัด

“หมดห่วงเรื่องค่าต่ออายุการใช้งานด้วยราคาเดิมตลอดชีวิต”

 

HostMetro ให้ฟรี 1 ชื่อโดเมนสำหรับแพ็กเกจ MegaMax พร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและแบนด์วิดธ์สูงสุด (สังเกตให้ดีว่า ค่ายนี้ใช้กลยุทธ์คำว่า “สูงสุด” แทนที่จะใช้ “ไม่อั้น”)

 

หลัก ๆ แล้ว นี่หมายความว่า ทางค่ายได้กำหนดเพดานพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและแบนด์วิดธ์เอาไว้แล้วแต่ก็พร้อมจะเพิ่มเพดานพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้คุณฟรีตราบใดที่คุณยังคงปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้บริการของทางบริษัท ซึ่งก็คือการไม่ใช้พื้นที่ไปกับการจัดเก็บสื่อมีเดียต่าง ๆ

 

สำหรับผมแล้ว ก็ฟังดูสมเหตุสมผลดี

 

หากคุณใช้ HostMetro คุณจะสามารถโฮสต์กี่เว็บไซต์ก็ได้ตามต้องการโดยใช้โดเมนโฮสติ้งแบบไม่อั้น แต่สิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับค่ายนี้ก็คือ (อย่างน้อยก็สำหรับผมล่ะ) ราคาค่าบริการจะเท่าเดิมไปตลอด หากคุณจ่ายอยู่ที่ 96 บาท คุณก็จะจ่าย 96 บาทไปตลอดอายุการใช้งานกับค่ายนี้

 

เย้! ไม่ต้องมานั่งกังวลเกี่ยวกับค่าต่ออายุเลย !

 

 


แพ็กเกจ

EcoSite Lite

ราคาใช้ครั้งแรก

119 บาท / เดือน

ราคาเมื่อต่ออายุ

299 บาท / เดือน

ฟีเจอร์หลัก

  • พื้นที่เว็บไม่จำกัด
  • RAID-10 SSD
  • HTTP/3 และ PHP7
  • เพิ่มประสิทธิภาพ LiteSpeed
  • พลังงานสีเขียว 300%

“ราคาไม่แพงและทรงพลังอีกทั้งยังยอดเยี่ยมสำหรับโลกใบนี้!”

 

คุณไม่ค่อยเห็นว่าบริการเว็บโฮสติ้งมีจริยธรรมเหมือนกับ Greengeeks

 

ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะตั้งค่าให้คุณมีทุกสิ่งอย่างไม่จำกัด

 

เรากำลังพูดถึงการถ่ายโอนข้อมูล บัญชีอีเมล พื้นที่เว็บ ฐานข้อมูล การทำงาน พวกเขายังใช้ SSL ฟรี โดเมนฟรี สำรองข้อมูลทุกคืนฟรี ทำให้ข้อตกลงนี้ดีขึ้นด้วยการรับประกันคืนเงินภายใน 30 วัน

 

มันค่อนข้างน่าเบื่อแต่ฉันเดาว่ามันบ่งบอกถึงความมั่นใจในข้อเสนอของพวกเขา!

 

พวกเขามีศูนย์ข้อมูล 4 แห่ง ตั้งอยู่ในฟีนิกซ์ (สหรัฐอเมริกา) ชิคาโก (สหรัฐอเมริกา) อัมสเตอร์ดัม (สหภาพยุโรป) และมอนทรีออล (แคนาดา) ด้วยทีมสนับสนุนที่แข็งแกร่ง โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ​​ความเข้ากันได้ของ Git และการรวม CloudFlare Greengeeks สามารถทำให้เว็บไซต์รู้สึกว่องไวจริงๆ

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับพวกมันไม่ใช่ฟีเจอร์หรือความเร็วของมัน – GreenGeeks ตอบแทนโลกด้วยการลงทุน 3 เท่าของแอมป์ทุกตัวที่พวกเขาใช้เป็นพลังงานหมุนเวียน!

 

คุณจะทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเมื่อคุณโฮสต์เว็บไซต์ของคุณกับ GreenGeeks

 

สรุปคือ รวดเร็ว ราคาไม่แพงและดีต่อโลก!

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ GreenGeeks

 

 

 


แพ็กเกจ

Lite

ราคาใช้ครั้งแรก

100 บาท / เดือน

ราคาเมื่อต่ออายุ

280 บาท / เดือน

ฟีเจอร์หลัก

  • 1 เว็บไซต์
  • 100GB SSD
  • โอนได้ไม่จำกัด
  • ฟรี SSL และ SSD
  • การย้ายไซต์ฟรีและง่ายดาย

“เว็บโฮสต์ที่ครบทุกการใช้งาน เหมาะกับเว็บไซต์ทุกรูปแบบ”

 

สิ่งที่เราชื่นชอบเกี่ยวกับ A2 Hosting ก็คือ แพ็่กเกจ Turbo ที่มาพร้อมเซิร์ฟเวอร์ความเร็วสูงราวสายฟ้าแล่บ โดยใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เว็บไซต์ที่ใช้บริการสามารถโหลดได้เร็วกว่าเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปได้ถึง 20 เท่า !

 

แม้ว่าแพ็กเกจ Lite จะไม่ได้มาพร้อมเซิร์ฟเวอร์แบบ Turbo แต่เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาของค่ายนี้ก็เร็วเอาเรื่องทีเดียวซึ่งความเร็วเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 150 มิลลิวินาที!

 

ผู้ใช้ยังจะได้เพลิดเพลินกับฟีเจอร์ที่น่าสนใจ เช่น พื้นที่เก็บข้อมูล SSD 100GB การถ่ายโอนไม่จำกัด โดเมนย่อยไม่จำกัด บัญชีอีเมลไม่จำกัดและ SSL ฟรี นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับการตั้งค่า WordPress ที่ปรับให้เหมาะสมในคลิกเดียว และเหนือสิ่งอื่นใดเราต้องเลือกศูนย์ข้อมูลของเราซึ่งกระจายอยู่ใน 3 ทวีปเพื่อเพิ่มความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ให้กับลูกค้าของพวกเขา!

 

 

 


แพ็กเกจ

Basic

ราคาใช้ครั้งแรก

190 บาท / เดือน

ราคาเมื่อต่ออายุ

260 บาท / เดือน

ฟีเจอร์หลัก

  • 1 เว็บไซต์
  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูล SSD 50 GB
  • แบนด์วิดธ์ไม่จำกัด
  • ใบรับรอง SSL ฟรี
  • ประสิทธิภาพมาตรฐาน

“ราคาถูกพร้อมฟีเจอร์มาตรฐาน ดีเยี่ยมสำหรับบล็อกเกอร์”

 

Bluehost เป็นหนึ่งในบริการเว็บโฮสติ้งที่มีการแนะนำให้ใช้กันอย่างมาก และราคาค่าบริการของค่ายนี้ก็ต่ำมากพอที่จะนำเข้ามารวมอยู่ในรายชื่อเว็บโฮสต์นี้ได้

 

หากคุณใช้แพ็กเกจ Basic ของค่ายนี้ คุณจะได้รับทุกอย่างที่คุณจ่ายไป นั่นก็คือ โดเมนฟรี 1 โดเมน พื้นที่จัดเก็บ SSD 50gb (ซึ่งตรงนี้หมายความได้ว่าทางโฮสต์ใส่ใจเรื่องความเร็วและความมีประสิทธิภาพ) และแบนด์วิดธ์แบบไม่จำกัด (ไม่มีการระบุชัดเจนว่า แต่ละบัญชีจะได้แบนด์วิดธ์
เท่าไหร่ แต่ตราบใดที่คุณใช้แบนด์วิดธ์อยู่ในเกณฑ์ที่โฮสต์เห็นว่าเป็น “ปกติ” ก็ไม่น่าจะเป็นอะไร)

 

หากคุณต้องการบัญชีอีเมลฟรีล่ะก็ Bluehost อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกของคุณ เพราะคุณจะต้องเสียค่าบริการเพิ่มสำหรับรายการนี้

 

อย่างไรก็ตาม Bluehost มาพร้อมกับ SSL ฟรีและอีเมล 5 บัญชีดังนั้นหากคุณใช้งานเว็บไซต์ธุรกิจสิ่งนี้จะมีประโยชน์ นอกจากนั้นพวกมันค่อนข้างเสถียร จับคู่กับสิทธิพิเศษอื่นๆของพวกเขาและ Bluehost เป็นคู่แข่งที่คู่ควรสำหรับรายการนี้

 

 

 

6 ขั้นตอนในการระบุโฮสต์เว็บราคาถูกที่ดี

 

bitcatcha find good cheap host

 

แน่นอนว่ายังมีบริษัทโฮสติ้งที่ไม่ดีบางแห่งที่ซ่อนตัวอยู่ในช่วงราคาเดียวกันและการแยกข้อดีและข้อเสียออกจากกันอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก

 

แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะเรามี 6 ขั้นตอนง่ายๆที่จะช่วยคุณระบุโฮสต์เว็บที่ดีที่สุดในราคาต่ำเพื่อให้คุณมีสิ่งที่ดีที่สุดของทั้งสองโลก
 

1. ตรวจดูฟีเจอร์ของโฮสต์

 

โฮสต์เว็บราคาไม่แพงที่ดีจะมีฟีเจอร์เด่นทั้งหมดไว้เป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเกจ สิ่งที่ควรระวัง ได้แก่:

 

  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูลและแบนด์วิดธ์
  • ปัจจุบันโฮสต์ที่มีคุณภาพส่วนมากจะมาพร้อมพื้นที่จัดเก็บแบบไม่อั้น แต่บางค่ายยังคงให้ แค่ 5GB หรือน้อยกว่านั้น

     

  • มีโดเมนเสริมได้กี่โดเมน
  • เว็บโฮสต์ส่วนใหญ่จะให้พื้นที่ไว้เพียงพอรองรับโดเมนเสริมได้มากถึง 25 โดเมน แต่เราก็เคยเห็นบางรายที่ให้ลงได้แค่หนึ่งโดเมนหรือไม่ให้เลยลงเสียด้วยซ้ำ

     

  • คุณจะสร้างที่อยู่อีเมลได้กี่อีเมล
  • โฮสต์บางค่ายไม่ได้รวมที่อยู่อีเมลเข้าไปในแพ็กเกจเลย

     

  • โฮสต์ใช้แผงควบคุมแบบไหน
  • สำหรับผมแล้ว ประสบการณ์ผู้ใช้งานแผงควบคุมสามารถกำหนดได้เลยว่า เว็บโฮสต์รายนั้นจะอยู่หรือไป ลองตรวจดูว่าโฮสต์ใช้ cPanel หรือ Vdeck หรือตัวเลือกแบบกำหนดเอง เลือกแบบที่ง่ายสำหรับคุณ (เคล็ดลับมือโปร: หากคุณไม่คุ้นเคยกับแผงควบคุมของโฮสต์ แนะนำให้ถามหาแผงตัวอย่างสำหรับทดลองใช้)

     

  • โฮสต์รองรับสคริปต์ที่ติดตั้งในตัวเว็บไซต์ไว้ก่อนแล้วหรือไม่
  • ลองตรวจดูว่าโฮสต์สามารถรองรับการติดตั้ง WordPress Drupal Joomla หรือไม่ หากคุณต้องการฟีเจอร์พิเศษอย่าง PHP หรือ อีคอมเมิร์ซ คุณต้องดูให้ดี ๆ ว่าโฮสต์ให้การรองรับในส่วนของตรงนี้ด้วย

     

  • พวกเขาให้ชื่อโดเมนฟรีหรือไม่?
  • หากคุณกำลังมองหาเว็บโฮสติ้งราคาไม่แพง เห็นได้ชัดว่าคุณอ่อนไหวต่อราคาและต้องการรักษาต้นทุนให้ต่ำ ชื่อโดเมนอาจมีราคาค่อนข้างสูงดังนั้นสิ่งนี้สามารถช่วยได้จริงๆ

 

 

2. เช็คความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของโฮสต์

 

โดยหลักแล้ว ความเร็วเซิร์ฟเวอร์เป็นตัวกำหนดความเร็ว (หรือช้า) ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ของคุณตอบสนองต่อการเรียกใช้

 

นี่เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจาก Core Web Vitals มีบทบาทสำคัญมากในการจัดอันดับและคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับใช่ไหมล่ะ?

 

จาก 3 ตัวชี้วัดที่สำคัญบนเว็บ มี 2 ตัวชี้วัดที่ขึ้นอยู่กับเวลาตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์เป็นอย่างมากนั่นก็คือ LCP (Largest Contentful Paint) และ FID (First Input Delay)

 

(Source: web.dev)

 

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเมื่อมีคนคลิกที่เว็บไซต์ของคุณ เวลาที่เนื้อหาส่วนใหญ่ใช้ในการแสดงและระยะเวลาที่เว็บไซต์ใช้ในการโต้ตอบสำหรับผู้ใช้จะส่งผลต่อการจัดอันดับ

 

ความเร็วเซิร์ฟเวอร์เป็นสิ่งสำคัญเพราะว่าทุก ๆ การเรียกใช้ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องได้รับการตอบสนองรวดเร็วปานฟ้าแลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณเป็นคนขายของทางออนไลน์และคาดหวังให้ขั้นตอนการสั่งซื้อเป็นไปอย่างรวดเร็ว การตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ที่เร็วทันใจเป็นสิ่งจำเป็นในการมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้

 

น่าเสียดายที่เว็บโฮสต์คุณภาพต่ำหลายค่ายมักจะรับฝากเว็บไซต์ไว้มากเสียจนเกินกำลังเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งหมายความว่า เว็บไซต์ของคุณจะต้องแข่งขันกับเว็บไซต์อื่น ๆ ในเรื่องของความเร็ว เว็บโฮสต์บางค่ายอาจจะไม่ได้ใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพมากพอ ดังนั้นการตอบสนองของเว็บไซต์จึงล่าช้า

 

ในทางกลับกัน เว็บโฮสต์ที่ดีที่สุด จะดำเนินการจนมั่นใจว่า ระยะเวลาการตอบสนองรวดเร็ว แม้ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์แบบแชร์ก็ตาม

 

คุณสามารถทดสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของคุณได้โดยใช้ เครื่องมือตรวจสอบความเร็ว ของเรา เพียงใส่ URL เว็บไซต์ลงไป คุณก็จะได้เห็นว่า เซิร์ฟเวอร์นั้น ๆ มีความเร็วมากขนาดไหนจากมุมต่าง ๆ ของโลก

 

 

3. ดูช่วงเวลาให้บริการ

 

ไม่มีอะไรน่ากลุ้มใจไปกว่าการที่เว็บไซต์ของคุณล่ม ดังนั้นการรู้ข้อมูลช่วงเวลาให้บริการของเว็บโฮสต์จึงมีความสำคัญสุด ๆ ยิ่งโฮสต์มีช่วงเวลาให้บริการมากเท่าไหร่ โฮสต์จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นเท่านั้น

 

ดูง่าย ๆ เลยคือ โฮสต์ค่ายไหนก็ตามที่มีช่วงเวลาการให้บริการน้อยกว่า 99% เป็นค่ายที่คุณควรหลีกเลี่ยง และคุณควรตั้งเป้ามองหาโฮสต์ที่มีเวลาให้บริการอยู่ที่ 99.9%

 

คุณอาจจะคิดว่า ถึงได้แค่ 98% ก็ดูดีแล้ว แต่ผมอยากให้คุณคิดอย่างนี้ ช่วงเวลาให้บริการ 98% หมายความว่าเว็บไซต์ของคุณมีโอกาสล่มได้มากถึง 3-7 วันต่อปีเลยทีเดียว !

 

คุณสามารถติดตามช่วงเวลาบริการของเว็บโฮสต์ได้ด้วยเครื่องมือที่ให้การตรวจสอบฟรี เช่น uptimerobot.com Uptime Robot จะตรวจสอบทุก ๆ ห้านาทีว่า เว็บไซต์ของคุณยังทำงานอยู่หรือไม่และจะแจ้งเตือนเมื่อมีอะไรผิดปกติ เราเองก็ใช้ Uptime Robot เพื่อเฝ้าระวังเว็บไซต์ของเราและช่วยให้ช่วงเวลาการให้บริการไม่ลดลง

 

 

4. พูดคุยกับฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิคของพวกเขา

 

ฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิคก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ช่วยแยกระหว่างเว็บโฮสต์ดี ๆ กับเว็บโฮสต์ แย่ ๆ บริษัทที่ดีจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญเอาไว้คอยตอบคำถามต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โฮสต์ที่ไม่ดีมักจะละเลยเรื่องการบริการลูกค้า

 

หากมีอะไรผิดพลาดเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ คุณก็คงหวังจะให้มีเสียงตามสายที่เป็นมิตรและแก้ไขปัญหาให้คุณได้ใช่ไหมล่ะ หากคุณต้องการแชตหรือพูดคุยทางอีเมลมากกว่า ก็ให้มองหาเว็บโฮสต์ที่มีช่องทางการติดต่อแบบนั้น

 

มีวิธีการตรวจสอบฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิคของเว็บโฮสต์อยู่สองสามทางโดยที่คุณไม่ต้องซื้อผลิตภัณฑ์ก่อน ให้คุณลองติดต่อเข้าไปสอบถามเรื่องดังต่อไปนี้

 

  • ขอตัวอย่างแผงควบคุมสำหรับทดลองใช้
  • สอบถามเกี่ยวกับนโยบายการคืนเงิน และราคาค่าต่ออายุบริการ (เราจะคุยเรื่องนี้กันเพิ่มเติมในภายหลัง)
  • สอบถามเกี่ยวกับขีดจำกัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
  • สอบถามเกี่ยวกับบริการสคริปต์ของเว็บไซต์

 

เว็บโฮสต์ที่ดีควรตอบกลับอย่างรวดเร็วพร้อมให้คำตอบที่ตรงจุดด้วย

 

 

5. มีแคชที่ซ่อนอยู่ใน TOS หรือไม่?

 

เว็บโฮสต์โดยมากใช้ภาษาที่เน้นหนักไปทางด้านการตลาด เช่น “พื้นที่จัดเก็บข้อมูลและแบนด์วิดธ์แบบไม่จำกัด” หรือ “CPU ไม่อั้น” แต่น่าเสียดายที่คำว่า “ไม่จำกัด” กลับมีข้อจำกัด ! และคุณจะได้พบกับข้อจำกัดเหล่านั้นในเงื่อนไขการให้บริการของเว็บโฮสต์

 

ในบางกรณี เว็บโฮสต์สงวนสิทธิ์ที่จะระงับหรือแม้กระทั่งหยุดให้บริการเว็บไซต์ที่ทำเกินข้อจำกัด

 

ด้านล่างนี้คือตัวอย่างจริง ๆ จากเว็บโฮสต์ที่ได้รับการยอมรับซึ่งระบุข้อจำกัดเหล่านี้ไว้

 

จำกัด CPU

 

นโยบาย CPU ของ Inmotion Hosting

(นโยบาย CPU ของ Inmotion Hosting)

 

เหตุผลเพิ่มเติมในการยุติบริการ

 

นโยบายสแปม iPage

(นโยบายสแปม iPage)

 

ให้เจาะจงดูที่ค่าสูงสุดของสิ่งต่อไปนี้

 

  • ฉันจะโฮสต์ไฟล์ได้มากที่สุดกี่ไฟล์ (ขนาดไหนก็ตาม) (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า inodes)
  • พื้นที่จัดเก็บและแบนด์วิดธ์มากที่สุดเท่าไหร่
  • ใช้ CPU ได้มากที่สุดแค่ไหน

 

ควรอ่านนโยบายคืนเงินในเงื่อนไขการให้บริการด้วยเช่นกัน เพราะบางครั้งคุณอยากลองใช้เว็บโฮสต์ แต่ต่อมาพบว่าเว็บโฮสต์ค่ายนั้น ๆ ไม่เหมาะกับคุณ เว็บโฮสต์ที่ดีจะเข้าใจในประเด็นนี้และ จะมีนโยบายคืนเงินให้อย่างเป็นธรรม

 

นโยบายคืนเงินของ HostMetro

(นโยบายคืนเงินของ HostMetro)

 

ในทางตรงกันข้าม โฮสต์แย่ ๆ มักจะไม่มีนโยบายคืนเงินเลยและยังจะเก็บค่ายกเลิกบริการอีกด้วย

 

หากคุณไม่พบนโยบายคืนเงินในเงื่อนไขการให้บริการ ให้คุณสอบถามไปยังฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าของโฮสต์รายนั้น ๆ

 

 

6. ราคาค่าต่ออายุเท่าไหร่และมีค่าบริการแอบแฝงอะไรไหม

 

ค่าบริการ 160 บาทมักจะเป็นราคาสำหรับการใช้ครั้งแรกเท่านั้น ส่วนราคาค่าต่ออายุจะสูงกว่าเล็กน้อย คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ราคาไม่กระโดดขึ้นไปมากจนเกินเหตุ !

 

คุณจะสังเกตเห็นว่า เว็บโฮสต์ส่วนใหญ่จะเสนอส่วนลดให้หากคุณสมัครใช้บริการแบบระยะยาว แต่ถ้าเป็นไปได้ จะเป็นการดีที่สุดหากไม่ผูกมัดตัวเองกับสัญญาบริการเป็นเวลานาน ๆ เพราะคุณอาจจะอยากขยับขยายหรือเปลี่ยนอะไรบ้างภายในสองปีก็เป็นได้

 

สุดท้าย โฮสต์บางค่ายพยายามที่จะให้คุณควักเงินเพิ่มเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริม เช่น การสำรองข้อมูลรายวันหรือตัวสแกนความปลอดภัยเซิร์ฟเวอร์ ถ้าคุณไม่ต้องการบริการเสริมเหล่านี้ คุณต้องดูให้ดีว่า ได้เอาเครื่องหมายถูกหรือกากบาทออกไปจากช่องสี่เหลี่ยมก่อนจะสมัคร

 

bluehost additional features

(ฟีเจอร์เสริมของ Bluehost)

 

 

คุณจะได้ความช่วยเหลือด้านใดจาก Bicatcha บ้าง

 

เว็บไซต์ของเราอยู่ตรงนี้เพื่อช่วยคุณค้นหาเว็บโฮสต์ที่ดีที่สุดและช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกโฮสต์ได้อย่างคนที่รู้จริง ต่อไปนี้เป็นเครื่องมือบางอย่างของเราที่คุณสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยตัดสินใจได้ตอนนี้เลย

 

  • การทดสอบความเร็วเว็บไซต์
  • ลองทดสอบความเร็วของแต่ละเว็บโฮสต์เพื่อดูว่า ค่ายไหนมีเวลาการตอบสนองที่รวดเร็วที่สุด (เคล็ดลับมือโปร : เราทดสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์จากพื้นที่ต่าง ๆ 10 แห่งทั่วโลก ฉะนั้น ให้คุณมองหาเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถส่งข้อมูลถึงกลุ่มผู้ชมเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว)

     

    อีกหนึ่งเคล็ดลับ: อย่าทดสอบกับเว็บไซต์ของเว็บโฮสต์เอง ให้คุณหาเว็บไซต์ที่ใช้บริการโฮสต์ดังกล่าว แล้วจึงทดสอบความเร็วของเว็บไซต์นั้น (ตัวเว็บโฮสต์เองอาจจะใช้เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวที่มีราคาแพงกว่ามากกับเว็บไซต์ของตัวเอง) ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการทดสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของ Hostinger เรามี เว็บไซต์ทดลอง 3 เว็บ ซึ่งโฮสต์ไว้กับศูนย์ข้อมูลของ Hostinger ซึ่งอยู่คนละสถานที่

     

  • บันทึกช่วงเวลาการให้บริการ
  • เพื่อช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเวลาติดตามดูช่วงเวลาการให้บริการของโฮสต์รายนั้น ๆ ด้วยตัวคุณเอง เราได้ติดตามผลและบันทึกช่วงเวลาให้บริการของหลากหลายเว็บโฮสต์มานานหลายเดือนและพร้อมจะนำเสนอแก่คุณ ไปที่หน้ารีวิวของเรา ที่นั่นคุณจะได้เห็นเปอร์เซ็นต์ของช่วงเวลาให้บริการโดยรวมของโฮสต์แต่ละค่าย รวมถึงข้อมูลว่าผ่านมากี่วันแล้วนับจากวันที่ระบบล่มครั้งสุดท้าย

     

  • โฮสต์ไหนเหมาะกับอะไรมากที่สุด
  • เราได้จัดหมวดหมู่โฮสต์โดยแยกตามความเชี่ยวชาญของแต่ละค่าย หาโฮสต์ที่ดีที่สุด สำหรับการทำบล็อก อีคอมเมิร์ซ เว็บไซต์แสดงผลงานหรือฟอรั่มต่าง ๆ

     

 

 

ประโยคเดียวสั้น ๆ : จะเลือกเว็บโฮสต์ค่ายไหนดี

 

ใช้ครั้งแรก

ต่ออายุ

ส่วนต่าง

Hostinger

฿76 /เดือน

฿105 /เดือน

เพิ่มขึ้น ฿29

 

เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทั้งหมด (ความเร็วของเซิร์ฟเวอร์ เวลาในการทำงาน การสนับสนุนด้านเทคนิค การใช้งานง่าย และราคา) รายการข้างต้นคือโฮสต์เว็บราคาไม่แพงที่ดีที่สุดบางส่วนสำหรับเว็บไซต์ของคุณ

 

ข้อควรจำ : จับคู่เว็บโฮสต์ให้ตรงตามความต้องการของเว็บไซต์คุณ!

 

คุณต้องยอมรับว่า ไม่มีเว็บโฮสต์ไหนที่ดีไปหมดทุกอย่าง มีแต่ที่ใช่สำหรับตัวคุณและความต้องการของคุณ เว็บโฮสต์แต่ละรายเหมาะกับงานหลักคนละแบบ

 

ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์แบบง่าย ๆ ที่เอาไว้แสดงผลงานต้องการเพียงผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งแบบแชร์รายเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ถ้าคุณทำบล็อกหรือเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามาดูมากกว่า 30,000-40,000 ครั้งต่อเดือน คุณจะต้องการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากขึ้น รวมถึงความยืดหยุ่นที่จะอัปเกรดไปใช้บริการแบบ VPS หรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนบุคคลได้เมื่อถึงเวลา

 

หากคุณกำลังมองหาช่องทางในการเริ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ คุณจะต้องใช้เว็บโฮสต์ที่ยอมให้เชื่อมต่อระบบการชำระเงิน รวมถึงมีมาตรการทางด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม (อย่าลืมลองเข้าไปดูที่ โฮสติ้งสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เราแนะนำ)

 

ก็อย่างที่คุณเห็น เว็บโฮสต์ราคาถูกไม่จำเป็นต้องแย่เสมอไป เพียงแต่ขอให้คุณตรวจดูฟีเจอร์และประสิทธิภาพของโฮสต์ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ โชคดีครับ! และหากคุณยังคงมีคำถามอยู่ล่ะก็ เขียนมาหากันได้เลยนะครับ ผมยินดีตอบคำถามคาใจทุกข้อ

 

แต่ถ้าคุณมีงบประมาณมากพอและกำลังมองหาของดี ๆ คุณภาพขึ้นหิ้งล่ะก็ ลองเข้าไปดูที่ แพลตฟอร์มโฮสติ้งสำหร้ับ WordPress ที่มีบริการดูแลด้านเทคนิค